DSpace Repository

การกระจายตัวของโลหะมีค่าในตะกรันทุติยภูมิจากกระบวนการทำให้ทองคำบริสุทธิ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์
dc.contributor.author อภิสิทธิ์ น้ำประสานไทย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-09-01T09:23:28Z
dc.date.available 2009-09-01T09:23:28Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741738714
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10909
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract กระบวนการทำให้ทองคำบริสุทธิ์โดยใช้ก๊าซคลอรีนเป็นตัวแยกสกัดเป็นกรรมวิธีที่สำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวจะก่อให้เกิดตะกรันออกมา ที่เรียกว่า ตะกรันปฐมภูมิ (Primary Slag) ซึ่งจะมีปริมาณโลหะมีค่า ทองคำ หลงเหลืออยู่ 5-10% ซึ่งสามารถนำไปแยกสกัดโดยการเผาถลุงอีกครั้ง โดยการเผาถลุงดังกล่าวจะก่อให้เกิดตะกรันออกมาอีกครั้ง เรียกว่า ตะกรันทุติยภูมิ (Secondary Slag) ซึ่งจะมีโลหะมีค่าทองคำหลงเหลืออยู่อีก 1-2% งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัว ลักษณะและองค์ประกอบของโลหะมีค่า ทองคำ เงิน และสารประกอบอื่นในตะกรันทุติยภูมิ ที่ได้จากกระบวนการทำให้ทองคำบริสุทธิ์ โดยดำเนินการศึกษาวิจัยปริมาณการกระจายตัวของโลหะมีค่าด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF) ศึกษาลักษณะ โครงสร้างจุลภาคและองค์ประกอบของโลหะมีค่าโดยใช้ กล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) เครื่องเอกซ์เรย์ ดิฟแฟรคโทมิเตอร์ (XRD) และเครื่องเอนเนอร์ยีดิสเพอร์สิฟ เอกซ์เรย์ (EDX) โดยผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยดังกล่าว สามารถนำมาวิเคราะห์และสรุปผลโดยเสนอแนะกระบวนการเก็บกลับคืนของโลหะมีค่าได้ โดยใช้โต๊ะสั่น (Shaking Table) ซึ่งสามารถเก็บกลับคืนโลหะมีค่า ทองคำได้ 94.18% และเก็บกลับคืนโลหะเงินได้ 94.89% en
dc.description.abstractalternative A procedure of gold refining via a chloride re-leach method is crucial and widely utilized. Fundamentally, a waste product, so-called primary slag, from the method still approximately contains 5-10 percents of gold. Nevertheless, after smelting method, Secondary Slag is left with the remaining gold around 1-2 percents. In this research, physical and chemical characteristics, distribution of precious metals in secondary slag from gold refining process are examined. The study aims to develop recovery of precious metals, specifically gold and silver, in more efficient and effective way. X-Ray Fluorescent (XRF) is used in order to study distribution of precious metals. In addition, Scanning Electron Microscopy (SEM), X-Ray Diffractometer (XRD) and Energy Dispersive X-Ray (EDX) are also used in order to analyze a microstructure and composition of the metals. According to the results of analysis the precious metals recovery process through using shaking table is proposed. The shaking table process can recover 94.18 percents of gold and 94.89 percents of silver from the secondary slag. en
dc.format.extent 2330017 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ทอง -- การทำให้บริสุทธิ์ en
dc.subject โลหะผสมทอง en
dc.title การกระจายตัวของโลหะมีค่าในตะกรันทุติยภูมิจากกระบวนการทำให้ทองคำบริสุทธิ์ en
dc.title.alternative Distribution of precious metals in secondary slag from gold refining en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิศวกรรมเหมืองแร่ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Quanchai.L@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record