Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นของยาเตตราซัยคลิ นไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกหลังการฉีดล้างเพียงครั้งเดียวในพ็อกเก็ต และเพื่อหาระยะเวลาที่ระดับความเข้มข้นของยาในน้ำเหลืองเหงือกยังคงสูงพอที่ จะสามารถต้านเชื้อสำคัญที่ก่อโรคปริทันต์อักเสบ (ค่าเอ็มไอซี = 8 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ 45 คน ซึ่งไม่มีโรคทางระบบ และไม่ได้รับยาเตตราซัยคลินที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 200 ตำแหน่ง ทำการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน จากนั้นแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ตำแหน่งที่ฉีดล้างในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้ม ข้นร้อยละ 5 (15 มิลลิลิตร, 5 นาที/ตำแหน่ง) และตำแหน่งที่ฉีดล้างภายในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 10 ทำการเก็บน้ำเหลืองเหงือกในแต่ละตำแหน่งด้วยเพริโอเพเพอร์ตามเวลาที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง 5 วัน หลังการฉีดล้างและ 7 วันหลังการฉีดล้าง จากนั้นนำไปตรวจวัดความเข้มข้นของยาเตตราซัยคลินด้วยเครื่องโครมาโตกราฟีของ เหลวแบบสมรรถนะสูง ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเข้มข้นของยาเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกที่เวลา 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง และ 5 วันหลังการฉีดล้าง ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และมีค่าระดับความเข้มข้นของยาสูงกว่าค่าเอ็มไอซี แต่ที่เวลา 7 วันหลังการฉีดล้าง พบความแตกต่างของค่าระดับความเข้มข้นของยาระหว่างกลุ่มทั้งสองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามค่าระดับความเข้มข้นของยาทั้งสองกลุ่มไม่สูงกว่าค่าเอ็มไอซี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)