Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาของบิดา มารดาที่บุตรเข้ารับการรักษาในหน่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหน่วยวิกฤตกุมาร เวชกรรมและหน่วยวิกฤตทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นครั้งแรก ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลคือระยะเวลา 24 72 ชั่วโมงแรกที่บุตรเข้ารักษาในหน่วยวิกฤตโดยบิดามารดาได้เข้าเยี่ยมบุตรใน หน่วยวิกฤตแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวนบิดามารดารวมทั้งสิ้น 200 คน โดยบิดามารดามีช่วงอายุ 16 ปีถึง 55 ปี อายุเฉลี่ย 37.94 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดบุคลิกภาพและแบบวัดกลวิธีการเผชิญปัญหา สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Multiple Regression analysis with Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า : 1. บุคลิกภาพเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาของบิดามารดา ที่บุตรเข้ารับการรักษาในหน่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม ซึ่งสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงคะแนนกลวิธีการเผชิญปัญหาได้ร้อยละ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. บิดามารดาที่บุตรเข้ารับการรักษาในหน่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาทั้งแบบจัดการที่ปัญหาโดยตรงและแบบจัดการที่อารมณ์ /ความรู้สึกควบคู่กันไป โดยบิดามารดา ร้อยละ 99 ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบจัดการที่ปัญหาโดยตรง และร้อยละ 1 ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบจัดการที่อารมณ์/ความรู้สึก