DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการนำแบบให้พลัง และผลการปฏิบัติงานโดยมีความรู้สึกได้รับพลัง และแรงจูงใจภายในเป็นตัวแปรสื่อ และมีความเชื่อในความสามารถของตนเป็นตัวแปรกำกับ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยพร วิชชาวุธ
dc.contributor.author โชติกา นำศรีสกุลรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2009-09-09T09:26:11Z
dc.date.available 2009-09-09T09:26:11Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741735685
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11033
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการนำแบบให้พลัง ของหัวหน้าตามการรับรู้ของพนักงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีความรู้สึกได้รับพลังและแรงจูงใจภายในของพนักงานเป็นตัวแปรสื่อ และมีความเชื่อในความสามารถของตนของพนักงานเป็นตัวแปรกำกับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดพฤติกรรมการนำแบบให้พลังมาตรวัดความรู้สึกได้รับพลัง มาตรวัดแรงจูงใจภายใน และมาตรวัดความเชื่อในความสามารถของตน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พนักงานแผนกขาย 315 คน ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการนำแบบให้พลังของหัวหน้าตามการรับรู้ ของพนักงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน (r=.15, p<.01) ความรู้สึกได้รับพลังของพนักงานเป็นตัวแปรสื่อ ในความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการนำแบบให้พลัง ของหัวหน้าตามการรับรู้ของพนักงานและแรงจูงใจภายในของพนักงาน แรงจูงใจภายในของพนักงานไม่ใช่ตัวแปรสื่อ ในความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกได้รับพลัง และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และความเชื่อในความสามารถของตนของพนักงาน ไม่ใช่ตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึก ได้รับพลังและแรงจูงใจภายในของพนักงาน en
dc.description.abstractalternative To study the relationship between empowering leadership behavior of managers, as perceived by employees, and employees' performance. Employees' feeling of being empowered and intrinsic motivation were treated as mediating variables while self-efficacy was treated as a moderator. The instruments in this research were the empowering leadership behavior scale, the feeling of being empowered scale, the intrinsic motivation scale and the self-efficacy scale. The subjects were 315 sales department employees of a big department store in Bangkok. It was found that empowering leadership behavior of managers, as perceived by employees, had a positive correlation with performance (r = .15, p<.01). Employees' feeling of being empowered did function as a mediating variable in the relationship between empowering leadership behavior and intrinsic motivation. On the other hand, intrinsic motivation did not function as a mediating variable in the relationship between feeling of being empowered and performance. Similarly, self-efficacy did not function as a moderating variable in the relationship between feeling of being empowered and intrinsic motivation. en
dc.format.extent 1194692 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผู้นำ en
dc.subject การประเมินผลงาน en
dc.subject การจูงใจ (จิตวิทยา) en
dc.subject ความสามารถในตนเอง en
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการนำแบบให้พลัง และผลการปฏิบัติงานโดยมีความรู้สึกได้รับพลัง และแรงจูงใจภายในเป็นตัวแปรสื่อ และมีความเชื่อในความสามารถของตนเป็นตัวแปรกำกับ en
dc.title.alternative Relationship between empowering leadership behavior and performance : the mediating effects of feeling of being empowered and intrinsic motivation, and the moderating effect of self-efficacy en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Chaiyaporn.W@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record