dc.contributor.advisor |
สุภาพร เชิงเอี่ยม |
|
dc.contributor.author |
กุลวดี ลิ่มอุสันโน |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2009-09-10T05:30:59Z |
|
dc.date.available |
2009-09-10T05:30:59Z |
|
dc.date.issued |
2546 |
|
dc.identifier.isbn |
9741740921 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11073 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
en |
dc.description.abstract |
ศึกษาวิธีปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการรับรู้มูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับสินทรัพย์ชีวภาพและผลิตผลทางการเกษตร ของธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในประเทศไทย รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นของผู้จัดทำบัญชีของธุรกิจสวนปาล์มน้ำมัน ผู้สอบบัญชีและนักวิชาการ เกี่ยวกับความเหมาะสมและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น จากการนำมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS) ฉบับที่ 41 เรื่อง "การบัญชีสำหรับการเกษตร" มาใช้กับธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่องบการเงิน และการวิเคราะห์งบการเงินจากการนำมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว มาใช้กับธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้จัดทำบัญชีของธุรกิจสวนปาล์มน้ำมัน ผู้สอบบัญชีและนักวิชาการ รวมทั้งการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) ผู้จัดการฝ่ายบัญชีของธุรกิจสวนปาล์มน้ำมัน ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าสำหรับสินทรัพย์ชีวภาพ (ต้นปาล์มน้ำมัน) และผลิตผลทางการเกษตร (เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันและผลปาล์มน้ำมัน) ด้วยราคาทุน (Cost) และมีการรับรู้มูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับสินทรัพย์ชีวภาพ เป็นค่าใช้จ่ายจากการตัดจำหน่ายต้นทุนสะสม ของสินทรัพย์ชีวภาพและรายการขาดทุนจากการด้อยค่า ส่วนผลิตผลทางการเกษตรมีการรับรู้มูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผลขาดทุน ในกรณีที่มูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน นอกจากนี้ ผู้จัดทำบัญชีของธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การนำมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 41 เรื่อง "การบัญชีสำหรับการเกษตร" มาใช้กับธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในประเทศไทยมีความเหมาะสม ส่วนผู้สอบบัญชีและนักวิชาการส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นในเชิงไม่แน่ใจในประเด็นดังกล่าว สำหรับผลกระทบต่องบการเงินและการวิเคราะห์งบการเงินเปรียบเทียบ ระหว่างวิธีปฏิบัติทางการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 41 เรื่อง "การบัญชีสำหรับการเกษตร" กับวิธีปฏิบัติทางการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับที่ 32 เรื่อง "ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์" พบว่ารายได้จากการดำเนินงาน สินทรัพย์ และอัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร ตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศมีค่าสูงกว่า ส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนในงบกระแสเงินสด อัตราส่วนวิเคราะห์ความคล่องตัว และอัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้ ตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศมีค่าต่ำกว่า |
en |
dc.description.abstractalternative |
To study accounting practice concerning the recognition, measurement and recognition of change in value of biological assets and agricultural products of oil palm farm business in Thailand. In addition, this study survey the opinions of accountants of oil palm farm business, auditors, and academics on the suitability and the problems that may arise from using International Accounting Standard (IAS) No.41 "The accounting for agricultural" in oil palm farm business in Thailand. This study also analyzes the effects of using IAS No.41 on the financial statements and the analysis of financial statements in oil palm farm business in Thailand. This study uses the questionnaires to collect data from the accountants of oil palm farm businesses, auditors and academics, including depth interview with accounting managers of oil palm farm businesses. The study found that most oil palm farm businesses in Thailand recognize and measure the biological assets (oil palm trees) and agricultural products (oil palm seeds and oil palm) in terms of their cost. The change in value of biological assets are recognized as expense for the amortization of accumulative cost and the impairment loss. The change in value of agricultural products are recognized when net realizable value (NRV) is lower than cost. Furthermore, according to the opinions of most accountants of oil palm farm business in Thailand, using IAS No.41 in the said business is appropriate. However, most of the auditors and academics are not sure about it. The comparative analysis of the effects on financial statements from the application of IAS No.41 and Thai Accounting Standard (TAS) No.32 "Property plant, and equipment" reveals that the income from operations, assets and profitability ratios according to IAS No.41 are higher. On the other hands, cash flows from investment in the statement of cash flows, liquidity ratios and leverage ratios according to IAS No.41 are lower. |
en |
dc.format.extent |
1755184 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
เกษตรกรรม -- การบัญชี |
en |
dc.subject |
ปาล์มน้ำมัน -- ไทย |
en |
dc.subject |
มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ |
en |
dc.title |
การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS) ฉบับที่ 41 การบัญชีสำหรับการเกษตร : ความเหมาะสมในการนำมาใช้สำหรับธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในประเทศไทย |
en |
dc.title.alternative |
Recognition and measurement according to the International Accounting Standard No.41 accounting for agricultural : the suitability for application in oil-palm farm business in Thailand |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
บัญชีมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การบัญชี |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
fcomsle@phoenix.acc.chula.ac.th |
|