Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างในการประเมินความสามารถของ ตนในการแก้ปัญหา และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษาชาย และหญิงที่มีบทบาททางเพศแตกต่างกัน โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 543 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดบทบาททางเพศ แบบวัด การปัญหา และแบบวัดการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง การเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการ Dunnett’s T3 และ Scheffe และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ชายและผู้หญิงมีบทบาทางเพศตรงตามเพศของตนมากที่สุด และ ผู้หญิงมีบทบาทความเป็นชายและหญิงมากกว่าผู้ชาย 2) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าตนมีความสามารถในการ แก้ปัญหา มีความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหา และเข้าจัดการกับปัญหาในระดับค่อนข้างสูงและควบคุมตนเอง ในขณะแก้ปัญหาได้ในระดับปานกลาง 3) กลุ่มตัวอย่างใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา และแบบแ สวงหาการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง และใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีในระดับ ค่อนข้างต่ำ 4) ผู้ที่มีบทบาทความเป็นชาย บทบาทความเป็นหญิง และบทบาทความเป็นชายและหญิง ไม่แตกต่างกันในการรับรู้ความสามารถของตนในการแก้ปัญหา และความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหา รวมถึงการใช้กลวีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา การลงมือดำเนินการแก้ปัญหาและการวางแผน และการตีความหมายใหม่ในทางบวกและการเติบโต แต่แตกต่างจากผู้ที่มีบทบาททางเพศไม่เด่นชัด โดย ทั้ง 3 กลุ่ม รับรู้ว่าตนมีความสามารถในการแก้ปัญหาและใช้กลวิธีเผชิญปัญหาทุกด้านดังกล่าวมากกว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีบทบาททางเพศไม่เด่นชัด 5) ผู้หญิงผู้ที่มีบทบาทความเป็นหญิง และผู้ทีมีบทบาท ความเป็นชายและหญิง ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมากกว่าผู้ชาย ผู้ทีมีบทบาทความเป็นชาย และผู้ทีมีบทบาทเพศไม่เด่นชัด ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์ นักศึกษาจำนวน 15 คน เป็นผู้ทีมีบทบาทความเป็นชาย บทบาทความเป็นหญิง และบทบาทความเป็นชาย และหญิง บทบาทละ 5 คน ที่เต็มใจให้สัมภาษณ์ คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่าง 543 คนของการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1)ปัญหาที่นักศึกษาที่มีบทบาทความเป็นชาย บทบาทความเป็นหญิง และบทบาทความเป็นชายและ หญิงพบคือ เรื่อการเรียน ส่วนปัญหาที่นักศึกษาบางส่วนพบ คือ เรื่องการเงินเรื่องครอบครัว และส่วนน้อย พบปัญหาเรื่องเพื่อน และความรัก 2) นักศึกษารับรู้ว่าตนสามารถจัดการกับปัญหา และใช้การลงมือดำเนิน การแก้ปัญหา และการวางแผน การแสวงหาการสน้บสนุนทางสังคมเพื่อแก้ปัญหา และการหาทางผ่อนคลาย 3) นักศึกษาที่มีบทบาทความเป็นหญิง และบทบาทความเป็นชายและหญิงใช้การแสวงหาการสนับสนุนทาง สังคมเพื่อกำลังใจด้วย นอกจากนี้พบว่า มีนักศึกษาส่วนน้อยไม่เผชิญปัญหา 4) นักศึกษาส่วนใหญ่ เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ประสบ และรับรู้ว่าตนเติบโตและเข้มแข็งขึ้น