Abstract:
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของรูปร่างของรากฟันเทียมต่อการกระจายความเค้นโดยอาศัยวิธีการโฟโต้อีลาสติคแบบ 2 มิติ ปัจจัยที่ศึกษา ประกอบด้วย ความสอบ, รูปร่างเกลียว,ระยะห่างระหว่างเกลียวและความลึกของเกลียว แบบจำลองไบรีฟรินเจน 16 ชิ้นซึ่งแตกต่างกันโดยลักษณะการออกแบบ ถูกสร้างขึ้นจากโฟโต้อีลาสติค เรซิน มีการตรวจสอบแบบจำลองทุกชิ้นว่าไม่มีความเค้นหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาจากการหดตัวของเรซิน ทำการศึกษาโดยการให้แรงกดแก่แบบจำลองแต่ละตัวภายใต้ 2 สภาวะ คือ ในแนวแกนและเอียงทำมุม 20 องศากับแนวแกน แล้วถ่ายรูปแบบความเค้นที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่ารากฟันเทียมทุกแบบแสดงการกระจายความเค้นคล้ายคลึงกัน โดยที่ความเค้นสูงสุดอยู่ที่ส่วนปลาย 1/3 ของความยาวรากฟันเทียม รากฟันเทียมทรงกระบอกให้การกระจายความเค้นดีกว่าทรงสอบ การใส่เกลียวทำให้การกระจายความเค้นดีขึ้น โดยรูปร่างเกลียวมีผลน้อยมากหรือแทบไม่มีผลต่อการกระจายความเค้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในที่เล็กลง, ระยะห่างระหว่างเกลียวที่มากขึ้นและความลึกเกลียวที่ลดลง ทำให้เกิดความเค้นสะสมรอบปลายรากฟันเทียมมากขึ้น