Abstract:
อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทยนั้น กำลังเผชิญกับปัญหาด้านการแข่งขันเนื่องจาก การถูกตัดราคาขาย และสินค้าในตลาดโลกมีให้เลือกมากมาย ดังนั้นการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขัน และกิจกรรม ภายในห่วงโซ่คุณค่าย่อมมีความสำคัญ สำหรับเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการรักษาระดับผลตอบแทน ในภาวะดังกล่าว การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การแข่งขันกับการทำกิจกรรมภายในห่วงโซ่ คุณค่าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การแข่งขันกับการทำกิจกรรม ภายในห่วงโซ่คุณค่าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ (3) ศึกษาผลของกลยุทธ์การแข่งขันและการทำ กิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าต่อผลการดำเนินขององค์กร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มในเขตกรุงเทพมหานครเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามซึ่ง ส่งถึงผู้ให้สัมภาษณ์ 387 บริษัท และมีแบบสอบถามที่ส่งถึงมือผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนทั้งสิ้น 378 บริษัท โดยมี แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาและสามารถนำมาวิเคราะห์จำนวน 107 บริษัท ซึ่งเป็นอัตราส่วนร้อยละ 27.65 ของ แบบสอบถามที่ส่งถึงมือผู้ให้สัมภาษณ์ สถิติทดสอบทีใช้สำหรับการวิจัยนี้ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง และกลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน ให้ผลการดำเนินงานที่สูงกว่ากลยุทธ์การจำกัดขอบเขตเฉพาะด้านผลการดำเนินงานด้านลูกค้า สำหรับความสัมพันธ์ ระหว่างกลยุทธ์การแข่งขัน และกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่านั้น พบว่ากลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุนมีความสัมพันธ์ กับกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าทุกด้าน ยกเว้นด้านการตลาดและการขาย และการบริการสำหรับกลยุทธ์ การสร้าง ความแตกต่าง พบว่ากิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าทุกด้าน ยกเว้นด้านการตลาดและการขาย และการบริการ สำหรับ กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง พบว่ากิจกรรมภายในห่วงโซ่ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง และสำหรับกลยุทธ์การจำกัดขอบเขต พบว่ามีเพียงการพัฒนาทางเทคโนโลยีเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ การจำกัดขอบเขต สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การแข่งขัน กิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่า และผลการ ดำเนินงานของกิจการ (ผลการดำเนินงานโดยรวม ผลการดำเนินงานทางการเงินผลการดำเนินงานด้านลูกค้า ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการภายใน และผลการดำเนินงานด้านการเรียนรู้และพัฒนา) พบว่าการผลิตการ บริการ และการพัฒนาทางเทคโนโลยีสามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานโดยรวมได้ร้อยละ 54.3 และด้านการตลาด และการขายและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานทางการเงินได้ร้อยละ 52 และด้าน การบริการและด้านโครงสร้างพื้นฐาน สามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานด้านลูกค้าได้ร้อยละ 38.3 และด้าน การรับวัตถุดิบด้านการบริการ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน สามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการ ภายในได้ร้อยละ 42.5 และด้านการตลาดและการขาย และด้านการพัฒนาทางเทคโนโลยี สามารถพยากรณ์ผล การดำเนินงานด้านการเรียนรู้และพัฒนาได้ร้อยละ 42.9