Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกทัศน์ของบุคลากรในองค์กรเอกชน ที่มีบทบาทในการดูแลผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ โดยได้ทำการศึกษา บ้านพักใจ กรุงเทพมหานคร วิธีวิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยภาคสนาม วิธีการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยตนเองในบ้านพักใจ กรุงเทพมหานคร จากการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ของบุคลากร ด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์บุคลากรจำนวน 5 คน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ ชัดเจนขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้ยังได้ทำการศึกษา ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ได้รับการดูแลจากบุคลากรอีกจำนวน 5 คน ผลการวิจัยสามารถแบ่งช่วงของการรับรู้เกี่ยวกับตนเองของบุคลากรในองค์กร เอกชนได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1 ช่วงก่อนเข้าสู่องค์กร บุคลากรเริ่มมีการรับรู้และเรียนรู้จากประสบการณ์เกี่ยวกับโรคเอดส์ด้วยตน เอง และการมีปฏิสังสรรค์กับผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานด้านเอดส์มาก่อน ซึ่งช่วยให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง เรียนรู้การปฏิบัติตัวเบื้องต้น และเกิดโลกทัศน์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อโรคเอดส์ของคนอื่นๆ ในสังคม 2 ช่วงขณะที่ทำงานอยู่ในองค์กร เมื่อบุคลากรเข้ามาใช้ชีวิตภายในองค์กร มีการเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยผ่านกระบวนการปฏิสังสรรค์กับผู้ติดเชื้อเอดส์ และบุคลากรด้วยกันเอง ซึ่งปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม 3 ช่วงหลังจากที่ทำงานอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ เป็นช่วงเวลาที่บุคลากรรับรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและผู้ติดเชื้อ เอดส์ โดยบุคลากรแต่ละคนจะมีการรับรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ให้กับผู้ติดเชื้อเอดส์สามารถกลับสู่สังคมปกติ ภายนอก โดยการปฏิสังสรรค์กับบุคคลภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ที่พวกเขาเข้าไปอยู่ และการได้รับการยอมรับจากสังคมปกติ ที่ไม่มีการแบ่งแยกผู้ติดเชื้อเอดส์ออกจากคนปกติธรรมดาทั่วไปให้สามารถอยู่ ร่วมกันได้อย่างปกติสุข โดยบุคลากรมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ผู้ติดเชื้อเอดส์สามารถกลับไปอยู่ใน สังคมได้ กรณีศึกษาผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีทัศนะต่อการดูแลของบุคลากรแสดงให้เห็นว่า การที่ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้รับการดูแลจากบุคลากรในองค์กรเอกชนมีผลต่อการ ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างปกติ ซึ่งการดูแลของบุคลากรช่วยให้เข้าใจปัญหาและพฤติกรรมของผู้ติดเชื้อเอดส์ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมต่อการยอมรับผู้ติดเชื้อเอดส์ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม