DSpace Repository

การสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โครงข่ายเมืองศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor จารุวรรณ ลิมปเสนีย์
dc.contributor.author อัจฉรา ทิพย์มณี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.date.accessioned 2009-10-27T11:02:52Z
dc.date.available 2009-10-27T11:02:52Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741720203
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11599
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้เป็นการสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เพื่อจำแนกและลำดับความสำคัญของชุมชนเมือง ประกอบการวางแผนโครงข่ายเมืองศูนย์กลาง ศึกษาเทศบาลในพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ จำนวน 73 เทศบาล ประกอบด้วย เทศบาลเมือง 6 แห่ง เทศบาลตำบล 67 แห่ง เทคนิคที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับภาค และระดับชุมชนเมือง การวิเคราะห์ระดับภาคศึกษาในระดับจังหวัด จำนวน 19 จังหวัด โดยใช้ตัวแปรทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจประชากรและสังคม จำนวน 17 ตัวแปร ผลจากการวิเคราะห์พบว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียง เหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มจังหวัดที่มีระดับการพัฒนาสูงมาก ล้วนแต่เป็นจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาจากรัฐบาล และมีแกนการพัฒนาหลักของภาคอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 และมีแกนการพัฒนาระดับรองในแนวตะวันตก-ตะวันออก ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาที่เกิดจากเมืองหลักของภาคไปยังเมืองชายแดนทางด้าน ตะวันออก มี 2 แนว คือ ทางตอนบนของภาค และทางตอนล่างของภาค ลักษณะดังกล่าวทำให้พื้นที่ตอนกลางของภาค ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาถูกละเลยและไม่ได้รับการส่งเสริมการพัฒนาสำหรับการ วิเคราะห์ระดับชุมชนเมือง ใช้ตัวแปรจำนวน 13 ตัวแปร วิเคราะห์ทางด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจ และด้านโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนเมืองสามารถจำแนกและจัดกลุ่มค่าคะแนนระดับ ความเป็นเมืองเพื่อลำดับศักยภาพชุมชนเมือง พบว่า ชุมชนเมืองที่มีระดับความเป็นเมืองสูงมีจำนวน 5 แห่ง ชุมชนเมืองที่อยู่ในกลุ่มนี้เป็นเทศบาลเมืองของจังหวัด ยกเว้นเทศบาลเมืองยโสธร มีลักษณะการกระจายตัวเป็นกลุ่ม สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทางตะวันตก ประกอบด้วยชุมชนเมือง 3 แห่ง คือ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม และเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และกลุ่มชุมชนเมืองทางด้านตะวันออก ได้แก่ เทศบาลเมืองมุกดาหาร และเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ เมื่อนำนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ได้กำหนดให้เมืองร้อยเอ็ดให้เป็นเมืองศูนย์ กลางความเจริญ และเมืองมุกดาหารเป็นเมืองการค้าชายแดน มาประกอบการพิจารณากับปัจจัยต่างๆ ทางกายภาพ โครงข่ายการคมนาคมและความได้เปรียบเชิงที่ตั้ง ได้เสนอแนะการพัฒนาเมืองศูนย์กลางขึ้นในแต่ละกลุ่ม โดยพัฒนาพื้นที่ตอนกลางฯ ให้มีศูนย์กลางขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และเทศบาลเมืองมุกดาหาร en
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to survey the infrastructure development in order to classify and rank the hierarchy of municipalities. The study area is the municipalities of the Northeast Central subregion: in Kalasin, Maha Sarakarn, Mukdahan, Yasothon, Roi Et, and Amnat Charoen Province. There are seventy-three municipalities that are six municipal administrations and sixty-seven municipal districts. The technique of study is the factor analysis. The study is two levels that are regional level and municipal level. The regional level was analysed seventeen factors on physical, economic, population and social factors. The result of study is paralleled on the Northeast Regional Development Project. Particularly, the highest development provinces are supported by the government in order to be center of the development. The main development lines of this region is from North to South of the highway No. 2. The second development lines are two routes: the upper and lower of the region, from the regional central cities toward to the Eastern Border Towns. By these regional development make the Central subregion is underdeveloped. In the municipality level was analysed thirteen factors on population, economic and infrastructure factors. The result of study is done by classify and rank the municipality potential. It found that five municipalities are the highest, which are the provincial central cities, except Yasothon Minicipality. There are separated into two groups. The Western group is included three municipalities: Kalasin municipality, Maha Sarakarn municipality, and Roi Et municipality. The Eastern group is Mukdahan municipality, and Amnat Charoen municipality. According to the government development policy that proposed Roi Et municipality to be the Regional Central City and Mukdahan municipality to be the commercial border cities, when combined with their physical, transportation network and the advantage of its location made them to be proposed the Central Place into two Centers. One is Roi Et municipality, and the other is Mukdahan municipality. en
dc.format.extent 39915850 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.345
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การใช้ที่ดิน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject เมือง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject ผังเมือง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.title การสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โครงข่ายเมืองศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ en
dc.title.alternative The survery of the infrastructure development as a guideline for the central place network planning : a case study of the Northeast Central subregion en
dc.type Thesis es
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การวางแผนภาค es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Charuwan.L@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.345


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record