dc.contributor.advisor | วิลาสวงศ์ พงศะบุตร | |
dc.contributor.advisor | ปิยนาถ บุนนาค | |
dc.contributor.author | พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.coverage.spatial | ไทย | |
dc.coverage.spatial | ศรีลังกา | |
dc.date.accessioned | 2009-12-15T01:33:42Z | |
dc.date.available | 2009-12-15T01:33:42Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.isbn | 9745607592 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11838 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | ประเทศไทยและประเทศลังกามีความสัมพันธ์กันมาหลายร้อยปี สืบเนื่องจากการที่ไทยรับนับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เป็นศาสนาประจำชาติ การติดต่อระหว่างชาติทั้งสองเป็นลักษณะการให้และการตอบแทน กล่าวคือในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ไทยรับนับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จากลังกา และต่อมาเมื่อทางลังกาเกิดปัญหายุ่งยากทางการเมืองในปลายพุทธศตวรรษที่ 23 หมดสิ้นสมณวงศ์ ฝ่ายไทยได้สนองตอบด้วยการช่วยเหลือก่อตั้งนิกายสยามวงศ์ในลังกา หลังจากนั้นได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทางลังกาได้ขอรับความอุปถัมภ์ทางพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง และยกย่องพระองค์เป็น “อัครศาสนูปถัมภก” ในประเทศตน การวิจัยเรื่องนี้จุดประสงค์ที่จะศึกษาให้ทราบถึง สาเหตุที่ไทยและลังกามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดต่อกันตลอดระยะเวลายาวนาน โดยเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งได้มีการก่อตั้งนิกายสยามวงศ์ในลังกา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการศึกษาพบว่า พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาตั้งมั่นและเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับมา นับตั้งแต่กรุงสุโขทัยรับนับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์แล้ว ส่วนลังกาซึ่งเป็นประเทศต้นวงศ์มักจะประสบปัญหาความยุ่งยากทางการเมืองทั้งภายในและภายนอก มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การติดต่อระหว่างไทยกับลังกาในปลายสมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้น ฮอลันดาซึ่งยึดครองดินแดนในเกาะลังกาบางส่วนอยู่ได้ มีส่วนสนับสนุนให้กษัตริย์ลังกาผู้ปกครองอาณาจักรแคนดีซึ่งยังคงเป็นอิสระ ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากไทยในการฟื้นฟูพุทธศาสนา โดยที่ฮอลันดาหวังผลประโยชน์ในทางการเมืองและการค้า ผลของการติดต่อในช่วงนี้ก็คือ ได้มีการก่อตั้งนิกายสยามวงศ์ ซึ่งเป็นนิกายที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของลังกาแม้กระทั้งทุกวันนี้ ต่อมาลังกาต้องเผชิญกับการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกเป็นเวลานาน จนในที่สุดได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ถึงแม้อังกฤษจะมีนโยบายไม่เบียดเบียนพุทธศาสนา แต่การพุทธศาสนาก็เสื่อมโทรงลง เนื่องจากขาดผู้นำและองค์กรที่จะรวบรวมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนเข้าด้วยกัน เพื่อฟื้นฟูทะนุบำรุงพุทธศาสนาในประเทศของตน คณะสงฆ์ลังกาจึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกันคือประเทศไทย ดังที่ได้มีการเสนอที่รับการบวชแปลงเป็นธรรมยุติกนิกาย และการขออยู่ใต้การปกครองคณะสงฆ์จากฝ่ายไทย แม้ความประสงค์ดังกล่าวนี้จะไม่ได้รับการตอบสนองโดยตรง ฝ่ายไทยก็พยายามหาหนทางช่วยเหลือในขอบเขตที่สามารถจะทำได้ สาเหตุที่ฝ่ายลังกาเลือกที่จะขอรับความอุปถัมภ์จากไทยนั้น นอกจากจะเป็นเพราะมีพื้นฐานการนับถือศาสนาแบบเดียวกัน และความมั่นคงของพุทธศาสนาในประเทศไทยแล้ว ยังมีเหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ไทยเป็นชาติที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทเพียงประเทศเดียว ที่ยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ในขณะนั้น | |
dc.description.abstractalternative | The relationship between Thailand and Ceylon, which lasted for a hundred years, originated from the acceptance of Sinhalese Buddhism as a state religion. The relationship between these two countries involved elements of gift and reciprocity. When Ceylon had political chaos and had no monks left, Thailand helped to restore the Buddhist Order in Ceylon by establishing the Siam Nikaya. Intimate relations continued from that time until the Rattanakosin Period. The most flourishing period was during the reign of King Chulaongkorn, when the Sinhalese appealed to the King for help in religious activities and asked him to be their country’s “Religious Patron”. The objective of this thesis is to study the background of the long-lasting relationship between Thailand and Ceylon with emphasis on religious relations, from the reign of King Boromkot to the reign of King Chulalongkorn. The results show that after the acceptance of Sinhalese Buddhism in Thailand, Theravada Buddhism became stable and flourished. Meanwhile, Ceylon itself often faced internal political problems, as well as external threats. There are documents stating that the relationship between Ayutthaya and the Kandyan Kingdom, the only sovereign Sinhalese Kingdom, was party supported by the Dutch, who occupied some part of the island, for their political and commercial benefit. The result of the relationship at that time was the establishment of the Siam Nikaya, the oldest and the biggest Nikaya in Ceylon. In those days Ceylon encountered the spread of western imperialism and at last she became one of the British colonies. Though the British government had a policy not to interfere with the native religion, Buddhism gradually declined because there were no elites or organizations to join the Sangha and Buddhists together in order to revive Buddhism in that country. Therefore, it was necessary to appeal for help to another Buddhist country, Thailand. The matters on which the Sinhalese asked for patronage were the establishment of Dhammayutika Nikaya in Ceylon and subjection to the Thai’s Sangha rule. Though these appeals were not directly responded to, the Thais tried to help in other ways as much as they could. The reasons why the Sinhalese asked for religious support from Thailand were background of practising the same kind of religion and the prosperity of Buddhism in Thailand and last, but not least, Thailand was the only sovereign Theravada country at that time. | |
dc.format.extent | 18726021 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พุทธศาสนา -- ไทย | en |
dc.subject | พุทธศาสนา -- ศรีลังกา | en |
dc.subject | ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ศรีลังกา | en |
dc.subject | ศรีลังกา -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย | en |
dc.subject | ไทย -- ประวัติศาสตร์ | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหว่างไทยกับลังกา ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | en |
dc.title.alternative | The religious relation between Thailand and Ceylon from the reign of King Boromkot to the reign of King Chulalongkorn | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.email.advisor | Piyanart.B@Chula.ac.th |