DSpace Repository

การสร้างแผนที่แนวแบ่งเขตภาษา ระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นอื่น ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กัลยา ติงศภัทิย์
dc.contributor.author ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-02-11T07:43:22Z
dc.date.available 2010-02-11T07:43:22Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11990
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการกำหนดแนวแบ่งเขตภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นอื่นของประเทศไทย โดยใช้คำศัพท์เป็นเกณฑ์ นับเป็นงานวิจัยแรกในประเทศไทยที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในเชิงเทคนิควิธีการในการบูรณาการเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแนวทางภาษาศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์การซ้อนทับของเขตภาษา ข้อมูลคำศัพท์ที่ใช้งานในงานวิจัยได้มาจาก “โครงการพัฒนาฐานข้อมูลคำศัพท์ภาษาไทยถิ่น” ซึ่งได้จัดทำก่อนหน้านี้ ข้อมูลคำศัพท์ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2545-2546 ประกอบด้วยหน่วยอรรถจำนวน 170 หน่วยอรรถ จากข้อมูลในระดับตำบลทั่วประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการจัดกลุ่มคำศัพท์เพื่อหาเส้นแบ่งเขตศัพท์โดยใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และวิเคราะห์การซ้อนทับแผนที่เส้นแบ่งเขตคำศัพท์ทั้ง 170 แผ่น ในเชิงพื้นที่โดยนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัย ได้แก่ (1) แผนที่เส้นแบ่งเขตคำศัพท์ 170 แผ่น (2) แผนที่ซ้อนทับคำศัพท์ซึ่งเกิดจากการซ้อนทับเส้นแบ่งเขตคำศัพท์จำนวน 170 หน่วยอรรถ และ (3) แผนที่แนวแบ่งเขตภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นอื่น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) แม้ว่าการกระจายของคำศัพท์ในแต่ละหน่วยอรรถมีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็สามารถนำหลักการและเทคนิคทางภูมิศาสตร์มาใช้เพื่อกำหนดแนวแบ่งเขตภาษาได้อย่างมีหลักเกณฑ์ (2) แนวแบ่งเขตภาษาที่สร้างขึ้น ลากตามเส้นแบ่งเขตของอำเภอได้อย่างต่อเนื่อง โดยลากแบ่งระหว่างบริเวณที่มีการใช้ภาษาไทยถิ่นกลางตั้งแต่ 50% ขึ้นไปและบริเวณที่มีการใช้ภาษาไทยถิ่นกลางน้อยกว่า 50% และ (3) เมื่อเปรียบเทียบเขตภาษาไทยถิ่นกลางตามภูมิภาคภาษาถิ่นกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ พบว่าไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่เดียวกันเสียที่เดียว แต่มีพื้นที่ส่วนที่ครอบคลุมใกล้เคียงกันมากพอควร นอกจากนี้ ผลพลอยได้จากการวิจัยพบว่า สามารถเห็นแนวโน้มและทิศทางการเคลื่อนตัวของภาษาในปัจจุบัน รวมถึงการเคลื่อนตัวของภาษาไทยถิ่นกลางเมื่อเปรียบเทียบกับแนวแบ่งเขตภาษาปี พ.ศ. 2531 ในงานวิจัยของชลิดา โรจนวัฒนวุฒิ (2533) en
dc.description.abstractalternative To establish lexical boundaries of the two Thai dialects, Central and non-Central Thai. It was a novel study in Thailand which integrated the technical innovation of the Geographic Information System with the linguistics approach for the overlay analysis of dialect regions. Word data used in this research was taken from the prior work of Word Geography of Thailand Project, comprised of 170 semantic units collected from all across the country in 2002-2003 at subdistrict level. Data analysis was done by ways of word classification and grouping through the current techniques in linguistics approach and the spatial overlay of 170 isogloss maps using the Geographic Information System application. Results are in the form of (1) 170 isogloss maps (2) an overlay map created from the bundles of 170 isoglosses and (3) a boundary map of Central and Non-central Thai dialects. Three findings can be summarized as follows (1) although the lexical variation of each semantic unit was unique, principle and techniques in geography can be used for the determination of dialect boundaries. (2) The created dialect boundaries were drawn consistently on the basis of district boundaries, separating the areas of people speaking Central Thai between >=50%. and <50%. (3) The comparison between the created dialect regions and the geographical regions shows the incomplete coincidence of boundaries in most arcas. Furthermore, the by-product of this research shows the current trend and direction of dialect movement as well as its movement compared to the 1988 dialect boundaries of Chalida Rojanawathanavuthi’s rescarch work (1990). en
dc.description.sponsorship เงินทุนสนับสนุนการวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ ทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551-2552 en
dc.format.extent 11838148 bytes
dc.format.extent 57059780 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ภาษาไทย -- แผนที่ en
dc.subject ภาษาไทยถิ่นกลาง en
dc.subject ภาษาไทยถิ่นเหนือ en
dc.subject ภาษาไทยถิ่นใต้ en
dc.subject ภาษาไทยถิ่นอีสาน en
dc.subject ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น en
dc.subject ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ en
dc.subject ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ -- ภาษาไทย en
dc.title การสร้างแผนที่แนวแบ่งเขตภาษา ระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นอื่น ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Using GIS for creating a borderline map of central and non-central Thai dialects en
dc.type Technical Report es
dc.email.advisor Kalaya.T@Chula.ac.th
dc.email.author Sirivilai.T@Chula.ac.th.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record