DSpace Repository

การศึกษาสถานภาพปัจจุบันของปริมาณโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย : กรณีศึกษาการประเมินความเสี่ยงต่อโลหะแคดเมียมและตะกั่ว ในน้ำนมสดและผลิตภัณฑ์นมสดที่ผลิตในประเทศไทย : รายงานผลงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ทิพย์วรรณ แซ่มา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-02-20T07:54:01Z
dc.date.available 2010-02-20T07:54:01Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12030
dc.description.abstract การสำรวจทัศนคติในการบริโภคน้ำนมสดเป็นเครื่องดื่มประจำวันและการประเมินปริมาณการบริโภคน้ำนมสดด้วยวิธีสุ่มแบบสอบถาม และการวิเคราะห์ปริมาณแคดเมียมและตะกั่วในตัวอย่างน้ำนมสดด้วยวิธีอะตอมมิคแอบซอพชั่นสเปคโตรเมตรี พบว่า ปริมาณน้ำนมสดที่กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามถึงพอใจในการเลือกดื่มแต่ละครั้งมีค่าระหว่าง 200 ถึง 400 มิลลิลิตรและความถี่ในการบริโภคสัปดาห์ละ 4-7 ครั้ง ปริมาณแคดเมียมในตัวอย่างน้ำนมสดมีค่าระหว่าง 1.12+-0.05 ถึง 5.01+-0.35 ไมโครกรัมต่อลิตรและปริมาณตะกั่วมีค่าระหว่าง 7.19+-0.32 ถึง 26.34+-1.68 ไมโครกรัมต่อลิตร การประเมินปริมาณแคดเมียมที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการดื่มตัวอย่างน้ำนมสด พบว่า ผู้บริโภคอาจได้รับแคดเมียมจากการดื่มแต่ละครั้งมีค่าประมาณ 0.22 ถึง 2.00 ไมโครกรัม และปริมาณที่อาจได้รับแต่ละสัปดาห์ประมาณ 0.90 ถึง 14.03 ไมโครกรัม การประเมินความเสี่ยงต่อตะกั่วที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการดื่มตัวอย่างน้ำนมสด พบว่าผู้บริโภคอาจได้รับตะกั่วจากการดื่มน้ำนมสดแต่ละครั้งมีค่าประมาณ 1.44 ถึง 10.54 ไมโครกรัม และปริมาณที่อาจได้รับแต่ละสัปดาห์ประมาณ 5.75 ถึง 73.75 ไมโครกรัม เมื่อนำค่าที่ประเมินได้เปรียบเทียบกับค่าที่ยอมรับได้ของมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 กำหนดให้มีตะกั่วปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมหรือ 1.032 มิลลิกรัมต่อลิตร และไม่พบมีการกำหนดค่ามาตรฐานสำหรับแคดเมียมในมาตรฐานทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ จึงสรุปได้เพียงว่าผลิตภัณฑ์ตัวอย่างน้ำนมสดทั้งหมดมีปริมาณตะกั่วต่ำกว่าค่ามาตรฐานและมีความปลอดภัยในการนำมาบริโภคเป็นเครื่องดื่มประจำวัน en
dc.description.abstractalternative The survey of attitude on fresh milk consuming as the daily beverage and the analysis of the amount of fresh milk consuming using questionnaire technique. The analysis of cadmium and lead in fresh milk samples by atomic absorption spectrophotometric technique. The results establish that the consumers prefer to drink fresh milk between 200 and 400 milliliters per drink. The frequency of drinks is 4 to 7 time per week. The determinations of cadmium and lead in fresh milk samples are between 1.12+-0.05 and 5.01+-0.35 microgram per liter and between 7.19+-0.32 and 26.34+-1.68 microgram per liter respectively. The evaluation of cadmium uptake possibility from fresh milk sample consuming shows that the consumers may uptake cadmium between 0.22 and 2.00 microgram per drink or between 0.90 and 14.03 microgram per week. The evaluation of lead uptake possibility from fresh milk sample consuming shows that the consumers may uptake lead between 1.44 and 10.54 microgram per drink or between 5.75 and 73.75 microgram per week. The sample evaluated detection data compare to the maximum level of heavy metal in fresh milk standard of Thailand. The standard of lead is lower than 1 milligram per kilogram or lower than 1.032 milligram per liters. While the standard for maximum level of cadmium in fresh milk has not been established both in Thailand standard and international standard. Thus, the conclusion of this study can only establish that fresh milk product samples are safe for consuming as the daily beverage. en
dc.description.sponsorship เงินอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน en
dc.format.extent 6951975 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การปนเปื้อนในน้ำนม en
dc.subject โลหะหนัก -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย en
dc.subject การประเมินความเสี่ยง en
dc.title การศึกษาสถานภาพปัจจุบันของปริมาณโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย : กรณีศึกษาการประเมินความเสี่ยงต่อโลหะแคดเมียมและตะกั่ว ในน้ำนมสดและผลิตภัณฑ์นมสดที่ผลิตในประเทศไทย : รายงานผลงานวิจัย en
dc.title.alternative Environmental study of heavy metal situation in Thailand : the risk assessment of cadmium and lead in fresh milk and milk products produced in Thailand en
dc.type Technical Report es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record