dc.contributor.author |
ผุสดี ทิพทัส |
|
dc.contributor.author |
ชัยบูรณ์ ศิริธนะวัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
วิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2010-02-20T08:53:12Z |
|
dc.date.available |
2010-02-20T08:53:12Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12034 |
|
dc.description |
ปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจของประเทศ (ช่วงก่อน พ.ศ. 2540 และช่วง พ.ศ. 2540-2545) -- สถานภาพทางวิชาชีพสถาปัตยกรรม (ช่วงก่อน พ.ศ. 2540 และช่วง พ.ศ. 2540-2545) -- ผลงานและแนวคิดในการออกแบบ: การปรับปรุง ปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย และต่อเติมอาคาร ; แนวคิดและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ; การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคาร ; ฮวงจุ้ยที่มีผลต่องานสถาปัตยกรรม -- บทบาทของสมาคมทางวิชาชีพและสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมในช่วงวิกฤตการณ์ |
en |
dc.description.abstract |
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อวงการสถาปัตยกรรมและผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้บริษัท/สำนักงานสถาปนิกต้องแก้ปัญหาและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลของปัญหาเพื่อวิเคราะห์ทางแก้ปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่า ในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สถาปนิกแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นสถาปนิกในบริษัท/สำนักงานสถาปนิกเอกชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมทั้งสถาปนิกอิสระที่หันไปประกอบวิชาชีพอื่นทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมโดยตรงนั้น มีวิธีการในการแก้ไขปัญหาและปรับตัวอย่างไรในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้คาดว่า ผลจากการวิจัยนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวหรือหาวิธีแก้ปัญหา และปรับตัวเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางสถาปัตยกรรมขึ้นอีกครั้งในอนาคต รวมทั้ง เพื่อให้มีข้อมูลเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรทางวิชาชีพและสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรม ให้มีความก้าวหน้า และเกิดการพัฒนาวิชาชีพทางเลือก พร้อมที่จะรับมือกับเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการค้าโลกอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต การศึกษาในครั้งนี้มีรูปแบบที่เป็นการวิจัยเชิงลักษณะ (Qualitative research) ใช้วิธีมุขปาฐะหรือประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า (Oral history) โดยการสอบถามและการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) กับกลุ่มตัวอย่างสถาปนิก 48 ราย ร่วมกับข้อมูลเอกสารและบทความที่เป็นข้อคิดเห็นจากสถาปนิกและผู้เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งการสำรวจอาคารที่เป็นผลงานของสถาปนิกกลุ่มที่ให้สัมภาษณ์ เนื้อหาของงานวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 7 บท สามบทแรกเป็นบทนำและการศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสถานภาพทางวิชาชีพสถาปัตยกรรมในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่วนเนื้อหาในสามบทต่อมาเป็นการพิจารณา วิเคราะห์และประเมินปัญหา ทางเลือกของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงบทบาทของสมาคมวิชาชีพและสถาบันศึกษาทางสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาดังกล่าว เนื้อหาในบทสุดท้ายเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ ซึ่งการศึกษาวิจัยมีผลสนับสนุนกรอบแนวคิดพื้นฐานที่ว่า บริษัทสถาปนิกที่ประกอบการด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมหลักโดยตรง ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจดังกล่าว ในระดับที่มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรนั้นๆ ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของอาคารที่บริษัทดำเนินการอยู่ และขึ้นอยู่กับจำนวนบุคลากรและค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ในองค์กรก่อนเกิดวิกฤตการณ์ รวมทั้งบริษัท/สำนักงานสถาปนิกที่มีงานออกแบบที่เกี่ยวกับอาคารประเภทที่รองรับความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ได้รับผลกระทบไม่มากนักในช่วงวิกฤตการณ์ จากการศึกษาพบว่า วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ได้สร้างความกระทบกระเทือนให้กับการบริหารงานของสำนักงาน/บริษัทสถาปนิกที่ประกอบการด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมหลักโดยตรงที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มากกว่าองค์กรขนาดเล็ก ในช่วงวิกฤตการณ์สำนักงาน/บริษัทสถาปนิกต่างต้องปรับวิธีการบริหารงานให้เกิดความคล่องตัว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง ในขณะที่องค์กรกลางทางวิชาชีพสถาปัตยกรรม เช่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ และ สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรม มีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดความต่อเนื่องทางการเรียนรู้ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ ในช่วงที่การลงทุนและการออกแบบปลูกสร้างอาคารมีการชะลอตัว ในช่วงวิกฤตการณ์บทบาทของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ยังมีไม่มากนัก ประกอบกับอยู่ในระยะเวลาของการเริ่มต้นของสภาสถาปนิกสำหรับในภาคบุคคล ผู้ประกอบวิชาชีพบางท่านต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด โดยการลดค่าใช่จ่ายและหายรายได้เสริม หรือเริ่มอาชีพใหม่ อย่างไรก็ดี งานวิจัยพบว่า สภาวะความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแนวคิดเฉพาะตัวในการออกแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกมากนัก หากแต่ว่า สภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอมีผลให้ผู้ลงทุนมีความรอบคอบในการลงทุน และให้ความสำคัญกับวัสดุอาคารและเทคโนโลยีที่มีความประหยัดมากขึ้น รวมถึงกระแสความเชื่อทางด้านฮวงจุ๊ย ที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจในขณะที่ประเทศประสบภาวะไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ท้ายสุด กลุ่มผู้วิจัยเสนอแนะให้ สถาปนิกต้องมีสติ และคิดแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ มีการควบคุมขนาดของบริษัทและเลือกประเภทของงาน การร่วมมือกันระหว่างบริษัทเพื่อรับงานขนาดใหญ่ และเลือกรูปแบบและระบบการบริหารที่มีความคล่องตัวสูงกว่าโดยใช้บริการภายนอก (Outsource) แทนบุคลากรภายในบริษัท |
en |
dc.description.abstractalternative |
The 1997 economic crisis had a great impact on Thailand’s architectural profession. Relying on the country’s economy, both real estate firms and architectural offices struggled for means to survive through the recession during 1997-2002. Since then, information about the profession’s setbacks due to the economic crisis has not been gathered for study. In this research, selected interviewees – including architects from various architectural firms, different in sizes, freelancer architects and architects from other lines of business, both related and unrelated to architectural profession – reveal how they transformed through severe economic hardship. It is expected that this paper will help architects to be prepared for unavoidable economic difficulties due to future changes of the global economy. To study the impact of the economic crisis on architectural profession, this qualitative research employs information from oral history, periodicals, and journals presented by architects who experienced the 1997 economic turmoil, as well as observation of their architectural works and projects during that time. Structured in-depth interviews with 48 architects also reveal various resolutions that help architects and their offices to outlast the economic re cession period. This paper is divided into seven chapters. The first three chapters introduce the economic and professional situations in the field of architecture during 1997-2002. The next three chapters cover an analysis of issues and options for resolving issues for architects during the country’s economic predicament. These sections of the paper also present alternative careers for designers and roles of professional organizations, such as the Association of Siamese Architects and the Council of Thai Architects, in the economic crisis period before the drawn conclusions and suggestions in the final chapter. The research supports the statement that different levels of economic impacts on each architectural firm depend on its cost of economic and social investment as well as on several other factors, such as numbers of employees, amount of expenses, and types of projects, and architectural firms handling projects related to basic requisites of living were less affected by the economic crisis. This research paper reveals that the 1997 economic crisis impacted more on full-sized, high profile architectural firms than on small-sized firms. Then, Thai architects struggled to adjust and find appropriate practices and alternative management systems for operating their firms. During the time of economic crisis, the Association of Siamese Architects – still then under an effort to set up the Council of Thai Architects – and architectural schools in Thailand tried to maintain their roles as professional knowledge providers that allowed Thai architects to sustain their professional improvement when their architectural careers were in a tight spot. As for architects, they had to adjust their professional practices, finding secondary jobs, sideline projects, and even new careers in order to earn more incomes. The study shows that the economic difficulties, then, did not have an effect on the style of the architects’ works; however, the fiscal crisis influenced their clients’ choices of investment and selections of building materials in order to reduce building and energy costs. In addition, the interviews with architects also reveal that in time of the country’s unstable economic environment, Chinese Feng Shui design techniques became parts of architectural requirements from some clients. At the end, the research suggests that the size and profile of architectural firms be appropriately maintained, and it is important that practical management strategies be developed in architectural firms—for instance the company can develop models for outsourcing architectural work and services to allow flexible practice. Most importantly, it is recommended that during the time of economic crisis architects be more professionally conscious. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
27124738 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2145 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สถาปัตยกรรม -- ไทย |
en |
dc.subject |
วิกฤตการณ์การเงิน -- ไทย -- 2540 |
en |
dc.subject |
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- ไทย -- 2540-2545 |
en |
dc.title |
สถาปัตยกรรมหลัง พ.ศ. 2540 : วิกฤตการณ์และทางเลือกของสถาปนิกไทย : รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
en |
dc.title.alternative |
Architecture after 1997 : crisis and alternative jobs/professions for Thai architects |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
Chaiboon.S@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Wimonrart.I@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2006.2145 |
|