Abstract:
ในการวิจัยทำการศึกษาปฎิกิริยาออกซิเดชันของเททระไซคลิน ออกซิเททระไซคลิน คลอเททระไซคลินและดอกซิไซคลินโดยใช้ขั้วไฟฟ้าทองและขั้วไฟฟ้าแอโนไดซ์โบรอนโดปไดมอนด์ โดยใช้การตรวจวัดแบบไซคลิกโวลแทมเมทรี พบว่าขั้วไฟฟ้าทั้งสองชนิดให้ผลของไซคลิกโวลแทมโมแกรมที่ชัดเจน ได้ทำการศึกษาตัวแปรที่เหมาะสมของเทคนิค PAD เมื่อขั้วไฟฟ้าทั้งสองชนิดโดยใช้ระบบ HPLC สภาวะของระบบ HPLC คือ สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ความเข้มข้น 0.01 โมล่าร์ pH 2.5 และอะซิ-โทไนไตรล์ ในอัตราส่วน 80 ต่อ 20 โดยปริมาตรและคอลัมน์ที่ใช้คือ C [subscript 18] ที่อัตราเร็ว 1 มิลลิลิตรต่อนาที ณ อุณหภูมิห้อง จากนั้นทำการศึกษาเทคนิค HPLC-PAD สำหรับวิเคราะห์สารกลุ่มเททระไซคลินโดยใช้ขั้วไฟฟ้าทั้งสองชนิด พบว่าขั้วไฟฟ้าแอโนไดซ์โบรอนโดปไดมอนด์ให้ขีดจำกัดต่ำสุดในการตรวจวัดที่ต่ำกว่า ให้ช่วงการตรวจที่วัดเป็นเส้นตรงกว้างกว่า และให้ความไวสูงกว่าไฟฟ้าทอง ตัวแปร PAD ที่เหมาะสมเมื่อใช้ขั้วไฟฟ้าแอโนไดซ์โบรอนโดปไดมอนด์ได้แก่ศักย์ไฟฟ้าที่ตรวจวัด 1.5 โวลต์เป็นเวลา 290 มิลลิวินาทีศักย์ไฟฟ้าที่ออกซิเดชัน 2 โวลต์ เป็นเวลา 200 มิลลิวินาที และศักย์ไฟฟ้ารีดักชัน 0.4 โวลต์ เป็นเวลา 200 มิลลิวินาที เทคนิค HPLC-PAD สามารถวิเคราะห์หาปริมาณยาปฎิชีวนะกลุ่มเททระไซคลินในกุ้งได้ ความเข้มข้นในการตรวจวัดที่เป็นเส้นตรงในช่วง 0.1-100 พีพีเอ็ม ที่ขีดจำกัดต่ำสุดในการตรวจวัด 0.01-0.05 พีพีเอ็ม ค่าการคืนกลับอยู่ในช่วง 75.0 ถึง 98.4 เปอร์เซ็นต์ ที่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการประยุกต์ใช้กับตัวอย่างกุ้งโดยผลที่ได้จากวิธีที่เสนอให้ค่าการคืนกลับสูงกว่ากับวิธีที่วัดตามมาตรฐานเอโอเอซี