DSpace Repository

การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังและเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author อรวรรณ จรัสกุลางกูร
dc.contributor.author กนกวรรณ นิสภกุลธร
dc.contributor.author รังสินี มหานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-03-04T11:01:40Z
dc.date.available 2010-03-04T11:01:40Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12117
dc.description.abstract ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์และการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงสมดุลของเชื้อแบคทีเรียใต้เหงือกอาจเป็นสาเหตุในการเพิ่มความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของเชื้อแบคทีเรีย Porphyromonas qingivalis, Tannerella forsythia, Treponema denticola และ Prevotella intermedia ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังทั่วไประดับปานกลางถึงรุนแรง แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี (กลุ่มทดลอง) จำนวน 17 คน และผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 17 คน (กลุ่มควบคุม) ตรวจสภาวะปริทันต์ของกลุ่มตัวอย่างด้วยค่าทางคลินิก ประกอบด้วย คราบจุลินทรีย์ การมีเลือดออกจากเหงือก ความลึกของร่องเหงือกและระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ เก็บตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก จากร่องลึกปริทันต์ที่ลึกที่สุด 5 ตำแหน่ง และร่องเหงือกปกติ 5 ตำแหน่ง โดยเก็บกระจายทุกเสี้ยวของช่องปากของผู้ป่วยแต่ละคน และนำไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธีปฏิกิริยาพอลิเมอเรสลูกโซ่ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีอายุสภาวะปริทันต์ และความลึกของตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากการเปรียบเทียบความชุกของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิดในร่องเหงือกปกติและร่องลึกปริทันต์ระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความชุกของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิดระหว่างร่องเหงือกปกติและร่องลึกปริทันต์ภายในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง พบความชุกของเชื้อแบคทีเรียในร่องลึกปริทันต์มากกว่าร่องเหงือกปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ไม่พบความแตกต่างของเชื้อแบคทีเรีย Porphyromonas gingivalis และ Treponema denticola อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความชุกของเชื้อแบคทีเรียใต้เหงือกทั้ง 4 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่เป็นและไม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี พบว่ามีความชุกของเชื้อแบคทีเรีย Porphyromonas gingivalis และ Treponema denticola ในร่องเหงือกปกติสูงใกล้เคียงกับร่องลึกปริทันต์ แสดงให้เห็นว่าในร่องเหงือกปกติของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจมีการเปลี่ยนแปลงสมดุลของเชื้อจุลชีพที่ส่งผลให้มีการตั้งถิ่นฐานของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์ในร่องเหงือกปกติ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคปริทันต์อักเสบมากขึ้น จึงอาจนำไปเป็นแนวทางป้องกันการเกิดและการลุกลามของโรคปริทันต์อักเสบที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป en
dc.description.abstractalternative Poorly-controlled diabetes increases the risk of periodontal bone loss and attachment loss. Microbial changes of the subgingival plaque may be one of the factors that affect the disease progression. It is the aim of this study to examine the prevalence of four periodontal pathogens, including Porphyromonas gingivalis, Tannerella forsythia, Treponema denticola, and Prevotella intermedia in the subgingival plaque samples of poorly controlled type 2 diabetic patients and compare to that of non-diabetic controls. The study included 34 subjects with generalized moderate to severe chronic periodontitis. The test group (N=17) had poorly-controlled diabetes whereas the control group (N=17) were non-diabetics. Clinical parameters including plaque score, bleeding on probing, probing depth and clinical attachment level were recorded. In each subject, subgingival plaque samples were collected from 5 periodontally healthy sites and 5 most diseased sites. The periodontal pathogens from plaque samples were detected by polymerase chain reaction. The results showed no differences between the test and the control groups in all clinical parameters. Comparing the prevalence of four periodontal pathogens between test and control group, significant difference was not found in both health and diseased sites (P>0.05). In non-diabetic subjects, healthy sites showed lower prevalence of all periodontal pathogens than diseased sites (P<0.05). However, in poorly controlled diabetic patients, the prevalence of Porphyromonas gingivalis and Treponema denticola in healthy sites was high and did not differ significantly from that of the diseased sites (P>0.05). The study suggested that there was a microbial change within the periodontally healthy sites of poorly-controlled diabetic patients. The increased prevalence of periodontal pathogens may predispose these sites for disease progression. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 9181821 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject โรคปริทันต์อักเสบ en
dc.subject เบาหวาน en
dc.subject แบคทีเรียก่อโรค en
dc.title การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังและเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Detection of periodontal pathogens in chronic periodontitis patients with poorly controlled type 2 diabetes mellitus en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Orawan.C@Chula.ac.th
dc.email.author Kanokwan.N@Chula.ac.th
dc.email.author Rangsini.M@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record