DSpace Repository

ผลของการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินและการใช้เดือยชนิดต่างๆ ต่อความต้านทานการแตกในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันและมีผนัง คลองรากส่วนต้นบาง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปรารมภ์ ซาลิมี
dc.contributor.author ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-03-16T02:55:17Z
dc.date.available 2010-03-16T02:55:17Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741718128
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12247
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract ในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันแล้วแต่มีผนังคลองรากฟันส่วนต้น บางหรือผายออก จะพบปัญหาของการพยากรณ์ความสำเร็จภายหลังการบูรณะด้วยเดือยและครอบฟัน เนื่องจากเนื้อฟันที่เหลือบางบริเวณคอฟันเป็นส่วนที่ได้รับแรงจากการบด เคี้ยวอาหารมากกว่าบริเวณอื่น และเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้จุดหมุนทำให้เกิดการแตกได้ง่าย มีผู้วิจัยได้เสนอกรณีศึกษาวิธีการบูรณะด้วยวิธีที่แตกต่างกันโดยการเสริม ผนังคลองรากฟัน แต่ยังไม่มีข้อมูลที่แสดงถึงผลการรักษาระยะยาว ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและเปรียบเทียบแรงต้าน การแตก รวมทั้งรูปแบบการแตกของฟันที่ได้รับการบูรณะด้วยวิธีต่างๆ กันจากปัจจัยการเสริมผนังคลองรากฟัน และชนิดของเดือยที่ใช้ทางห้องปฏิบัติการ โดยพิจารณาปัจจัยหลักได้แก่ การเสริมหรือไม่เสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน และชนิดของเดือยที่ใช้ (เดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล เดือยสเตนเลสสตีล และเดือยเส้นใยคาร์บอนร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน) เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางให้ทันตแพทย์เลือกวิธีการบูรณะฟันประเภทนี้ อย่างเหมาะสม ศึกษาแรงต้านการแตกในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันซี่ตัดหน้ากลางบน ที่มีผนังคลองรากฟันส่วนต้นบางด้วยวิธีแตกต่างกัน 4 วิธี เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีคลองรากฟันปกติ และบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล (กลุ่มที่ 1) ซึ่งวิธีที่ใช้ได้แก่ บูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล โดยไม่เสริมผนังคลองรากฟัน (กลุ่มที่ 2) เสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน แล้วจึงบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล (กลุ่มที่ 3) เสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน แล้วจึงบูรณะด้วยเดือยสเตนเลสสตีลร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน (กลุ่มที่ 4) และเสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน แล้วจึงบูรณะด้วยเดือยเส้นใยคาร์บอนร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน (กลุ่มที่ 5) ผลของแรงต้านการแตกเมื่อกดลงบริเวณด้านลิ้นของส่วนแกนพบว่า กลุ่มที่ 1 มีค่า 1,126.9+-75.5 นิวตัน กลุ่มที่ 2 มีค่า 489.4+-48.7 นิวตัน กลุ่มที่ 3 มีค่า 639.9+-48.3 นิวตัน กลุ่มที่ 4 มีค่า 301.1+-50.4 นิวตัน และกลุ่มที่ 5 มีค่า 299.5+-55.4 นิวตัน วิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบเชฟเฟที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01 จากผลการวิเคราะห์พบว่าการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน จะให้ค่าแรงต้านการแตกสูงกว่าการไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้เกิดการแตกของรากฟันในระดับที่มีความลึกน้อยกว่าการไม่เสริม การบูรณะด้วยเดือยสำเร็จรูปชนิดเดือยสเตนเลสสตีล และเดือยเส้นใยคาร์บอนร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซินมีค่าแรงต้านการแตกไม่แตกต่าง กัน การบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อให้ค่าแรงต้านการแตก สูงกว่าการบูรณะด้วยเดือยสำเร็จรูปร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน แต่การบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อจะเกิดการแตกที่รากฟัน ในขณะที่การบูรณะด้วยเดือยสำเร็จรูปร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน จะเกิดการแตกที่แกนฟันโดยรากฟันไม่แตก ซึ่งมีโอกาสบูรณะฟันซี่นั้นใหม่ได้ en
dc.description.abstractalternative The problem of restoration of endodontically treated teeth with flared root canal is the unpredictable prognosis when restored with post and core. This is because the thin tooth structure at the cervical region is near to the fulcrum and prone to fracture. Several studies suggest possible methods, but limited information in clinical longevity were supported. This study aimed to investigate fracture resistance and fracture mode of restoration in endodontically treated teeth with flared root canal by considering two parameters, 1) reinforcement of the flared root canal with composite resin, and 2) post systems (non-precious cast post and core, 2 prefabricated posts with composite resin core : stainless steel post, and carbon fiber post). Extracted human maxillary central incisors with simulated flared root canal were restored in 4 different methods (n=10 each), compared with the control group : normal root canal restored with non-precious cast post and core (group 1). The others were flared root canal that were restored with non-precious cast post and core (group 2), composite resin reinforced and non-precious cast post and core (group 3), composite resin reinforced and stainless steel post with composite resin core (group 4), lastly composite resin reinforced and carbon fiber post with composite resin core (group 5), all kind of posts were cemented with resin cement. The fracture resistance when loaded on lingual surface of core in group 1 was 1,126.9+-75.5 N, group 2 was 489.4+-48.7 N, group 3 was 639.9+-48.3 N, group 4 was 301.1+-50.4 N, and group 5 was 299.5+-55.4 N. One way ANOVA and Scheffeʼs statistical analysis were performed (alpha = 0.01). The analysis showed that reinforcement with composite resin in flared root canal could significantly increase the fracture resistance when restored with cast post and core, and resulted in shallower depth of root fracture. Fracture resistance between groups restored with stainless steel post and carbon fiber post were not significantly different. Restorations with cast post and core had significantly higher fracture resistance than those two prefabricated posts. Restorations with cast post and core resulted in root fracture, while restoration with prefabricated post, resulted in composite resin core fracture. en
dc.format.extent 878162 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.604
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject คลองรากฟัน en
dc.subject ทันตกรรมรากฟัน en
dc.subject เรซินทางทันตกรรม en
dc.title ผลของการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินและการใช้เดือยชนิดต่างๆ ต่อความต้านทานการแตกในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันและมีผนัง คลองรากส่วนต้นบาง en
dc.title.alternative Effect of resin-reinforcement and various post systems on fracture resistance in endodontically treated teeth with flared root canal en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Prarom.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.604


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record