dc.contributor.advisor |
สรวิศ นฤปิติ |
|
dc.contributor.advisor |
สืบสกุล พิภพมงคล |
|
dc.contributor.author |
ทวี วิชัยเมธาวี, 2517- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2006-07-31T01:27:27Z |
|
dc.date.available |
2006-07-31T01:27:27Z |
|
dc.date.issued |
2545 |
|
dc.identifier.isbn |
9741709102 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1232 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
en |
dc.description.abstract |
พัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟที่มีประสิทธิภาพสำหรับสภาพจราจรอิ่มตัวและอิ่มตัวมาก โปรแกรมจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค PARAMICS ที่มีตัวกลางติดต่อสื่อสารกับโปรแกรมประยุกต์ (Application Programming Interface, API) ถูกนำมาใช้พัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟ หลักการของวิธีควบคุมสัญญาณไฟที่พัฒนาขึ้นคือ การปรับสัญญาณไฟให้สอดคล้องกับข้อมูลการจราจรแบบทันกาล และป้องกันการเกิดแถวคอยกีดขวางทางแยกต้นทาง วิธีควบคุมที่พัฒนาขึ้นได้ทดสอบบนโครงข่ายถนน ที่มีระยะห่างระหว่างทางแยกเท่ากันจำนวน 2 โครงข่าย โดยใช้ระยะห่างระหว่างทางแยก รูปแบบและปริมาณจราจรที่เข้าสู่ทางแยกแตกต่างกัน ตัววัดประสิทธิภาพของการควบคุม ได้แก่ จำนวนยวดยานที่ตกค้างในโครงข่าย จำนวนยวดยานที่ออกจากโครงข่าย ความเร็วเฉลี่ย เวลาหยุดนิ่ง ระยะทางที่ยวดยานวิ่งบนโครงข่ายรวม (คัน-กิโลเมตร) ระยะเวลาที่ยวดยานใช้ในโครงข่ายรวม (คัน-ชั่วโมง) และเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การปรับสัญญาณไฟที่เวลาที่เหมาะสมตั้งแต่ปริมาณจราจรเริ่มเพิ่มมากขึ้น สามารถช่วยบรรเทาสภาพจราจรติดขัดได้ดี แต่ถ้าการปรับสัญญาณไฟไม่เหมาะสมในช่วงเวลาที่ปริมาณจราจรเพิ่มขึ้น จะทำให้การจราจรติดขัดแผ่ขยายเป็นวงกว้างและใช้เวลานาน เพื่อปรับสภาพจราจรให้กลับสู่สภาวะปกติ ความยาวรอบสัญญาณไฟสูงสุดและจุดของเวลาที่ใช้เปลี่ยนวิธีควบคุม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพของวิธีควบคุม สำหรับสภาพการจราจรและโครงข่ายถนนที่ใช้ในการวิจัยนี้พบว่า ในสภาพจราจรอิ่มตัว วิธีควบคุมสัญญาณไฟแบบตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณจราจร โดยใช้ระดับความอิ่มตัวสูงสุดของแต่ละจังหวะสัญญาณไฟ จัดแบ่งช่วงเวลาสัญญาณไฟเขียวเป็นวิธีควบคุมที่ให้ประสิทธิภาพ ดีกว่าวิธีควบคุมสัญญาณไฟคงที่และวิธีควบคุมสัญญาณไฟแบบตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณจราจรโดยใช้ดัชนีความยาวแถวคอยสูงสุด จัดแบ่งช่วงเวลาสัญญาณไฟเขียว ในสภาพจราจรอิ่มตัวมาก วิธีควบคุมนี้ก็มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีใช้ความยาวรอบสัญญาณไฟสั้น และวิธีใช้พื้นที่ว่างหลังแถวคอย |
en |
dc.description.abstractalternative |
To develope signal control strategies that are effective in saturated and over-saturated traffic conditions. The microscopic simulation, PARAMICS, was used with an interface to developed control strategies using Application Programming Interface (API). The principles underlying the developed control strategies were to adapt signal timing using real-time traffic information (responsive signals) and to prevent spillback. The control strategies were tested on two closed grid networks having different distances between adjacent signalized junctions, and different levels of flow and flow profiles. The performance indicators of the control included vehicles containing in the network, vehicles discharging out of the network, average speed, stoppage time, total mileage of travel (vehicle-kilometers), total travel time (vehicle-hours) and travel time. The results indicated that the adaptation of signal timing at an appropriate time at the beginning of congestion could markedly relief traffic congestion. On the otherhand, inappropriate signal timing during this increasing traffic flow would increase traffic congestion spreading into other areas in the network and lengthen the recovery time. The maximum cycle length and time to toggle the control strategies directly affect the control performances. With the traffic condition and road network in this research, the responsive signal control altering green time by degree of saturation yielded better performance than the Webster's fixed time control and the responsive signal control allocating green time by queue index in the saturated traffic conditions. In the over-saturated traffic conditions, the same control method yielded better performance than short cycle length method and storage capacity method. |
en |
dc.format.extent |
2441138 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สัญญาณไฟจราจร -- การควบคุม |
en |
dc.subject |
เครื่องหมายจราจร |
en |
dc.title |
การพัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟจราจรในสภาพจราจรอิ่มตัว |
en |
dc.title.alternative |
Development of traffic signal control strategies for saturated traffic conditions |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
kong@chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
suebskul.p@chula.ac.th |
|