DSpace Repository

การศึกษาถึงความสอดคล้องระหว่างหลักการกับผลการปฏิบัติงาน ของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author จรัส สุวรรณมาลา
dc.contributor.author เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา
dc.contributor.author กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
dc.contributor.author ปรีชา คุวินทร์พันธุ์
dc.contributor.author สุริชัย หวันแก้ว
dc.contributor.author ประภาส ปิ่นตบแต่ง
dc.contributor.author อรอร ภู่เจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial เชียงราย
dc.coverage.spatial พะเยา
dc.coverage.spatial ภูเก็ต
dc.coverage.spatial พังงา
dc.date.accessioned 2010-03-26T09:50:21Z
dc.date.available 2010-03-26T09:50:21Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12358
dc.description การบริหารงานของจังหวัดในช่วงก่อนและหลังการใช้นโยบายผู้ว่า CEO -- กรณีจังหวัดเชียงรายและพะเยา -- กรณีจังหวัดภูเก็ตและพังงา en
dc.description.abstract ศึกษาความสอดคล้องระหว่างหลักการกับผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ หรือผู้ว่าซีอีโอ โดยได้จำแนกประเด็นการศึกษาออกเป็นสองส่วน ได้แก่ การศึกษาในเชิงทฤษฎีถึง “หลักการ” ของนโยบายผู้ว่าซีอีโอ ทั้งในแง่ของมิติการบริหารราชการแผ่นดิน มิติของโครงสร้างองค์กร มิติทางสังคม และวัฒนธรรม รวมไปถึงมิติทางการเมือง และในส่วนที่สองเป็นการลงพื้นที่ศึกษาผลการปฏิบัติงานในจังหวัดเชียงราย-พะเยา และจังหวัดภูเก็ต-พังงา ผลการศึกษาในแง่ของหลักการพบว่า นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการมีเป้าประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในมิติขององค์การที่สำคัญคือ ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่กรมส่วนกลาง (Fragmented centralism) ซึ่งไม่เอื้อต่อการบริหารแนวราบ เป็นต้น โดยการนำเทคนิควิธีการบริหารในภาคธุรกิจเข้ามาใช้กับบริหารงานภาครัฐ ในเบื้องต้นผู้วิจัยตั้งสมมติฐานว่า นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการสามารถส่งผลต่อการตอบสนองปัญหาของคนในพื้นที่ได้มากขึ้น หรืออาจถูกใช้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองรัฐบาลส่วนกลาง ในขณะเดียวกันมีการตั้งประเด็นคำถามต่อไปว่า โครงสร้างและวัฒนธรรมการบริหารแบบใหม่จะสามารถแทนที่โครงสร้างและวัฒนธรรมแบบเดิมได้มากน้อยเพียงไร และเมื่อวัฒนธรรมแบบใหม่เผชิญหน้ากับวัฒนธรรมอุปถัมภ์ของสังคมไทยจะส่งผลเช่นไร ในทำนองเดียวกับนโยบายนี้จะส่งผลกระทบในทางการเมืองอย่างไร เมื่อศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับพื้นที่พบว่า การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ แม้ว่าจะมีข้อดีในแง่ของความคล่องตัวที่มากขึ้นทั้งแง่การบริหารงานบุคคลและงบประมาณ แต่ในภาพรวมยังคงมีทิศทางการบริหารแบบบนลงล่าง และมุ่งเน้นที่จะตอบสนองความต้องการของรัฐบาลกลาง มากกว่าการมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ หลักการมีส่วนร่วมและกระจายอำนาจที่กำหนดไว้ ในทางปฏิบัติยังค่อนข้างทำได้จำกัด คนบางกลุ่มในพื้นที่ที่มีอำนาจต่อรองมากกว่าสามารถผลักดันประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ของตนได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญปัจจัยด้านวัฒนธรรมในเชิงอุปถัมภ์ยังคงมีความสำคัญและสามารถอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมการบริหารแบบใหม่ได้ กล่าวโดยสรุปจากการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 จังหวัด ดูเหมือนว่าในทางปฏิบัตินโยบายผู้ว่าซีอีโอจะสอดคล้องกับสมมติฐานเบื้องต้นที่ว่า นโยบายอาจถูกใช้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองรัฐบาลส่วนกลาง ในแง่นี้นโยบายดังกล่าวกลับส่งผลในการเพิ่มการรวบอำนาจการบริหารงานส่วนภูมิภาคให้อยู่กับรัฐบาลส่วนกลางยิ่งกว่าระบบเดิม en
dc.description.abstractalternative To investigate the consistency between principles and implementation of the CEO governor policy. In so doing, the report has been organized into two parts: the first focuses primarily on the theoretical aspects of the principles of the CEO governor policy, be they public administration, socio-cultural and political dimensions; the latter explores into the policy implementation in the two different regions : Phayao and Chiangrai in the North and Phuket and Phang-nga in the South. In principles, the principal rationale of the CEO governor policy is to solve the persisting and structural problems of the provincial administration such as the so-called ‘fragmented centralism’ that causes difficulty in the horizontal coordination among different agencies. Adopting the business management technique into public administration, it can be initially hypothesized in two contradictory ways; on the one hand, the new technique can provide better outreach services to the local people; on the other hand, it can be served as strategic mechanism for the central government. Other points to note are that: to what extent that the new structure and organizational culture can supersede the old one; how the new culture encounter with the patron-client socio-cultural macro-context; and what are the political implications. In practice, it is evident at least in the selected case study that the policy can provide better flexibility in budgeting and personnel management. However, the policy cannot fully achieve its defining objectives to promote greater people participation and decentralization in formulating provincial strategies; and to provide better responses to the local people. It seems to be that the governing direction is still top down and tent to serve the central government interests than the local people needs. In addition, the new governing mechanism cannot create the level playing field for all actors involved. The new organizational culture can coexist with the patron-client culture and causes unequal access into power. Voices of some political potent interest groups seem to be louder than other. In a nutshell, the four case study tend to support the hypothesis that the CEO governor policy is to serve as strategic mechanism for the central government. In this light, the policy inclines to promote the more centralized structure of provincial administration rather than the decentralized one. en
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2548 en
dc.format.extent 10878160 bytes
dc.format.extent 7291097 bytes
dc.format.extent 7189506 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผู้ว่าราชการจังหวัด en
dc.subject ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย en
dc.subject ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา en
dc.subject ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต en
dc.subject ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา en
dc.subject ผู้บริหารระดับสูง -- ไทย en
dc.subject การปกครองท้องถิ่น -- ไทย en
dc.subject เชียงราย -- การเมืองและการปกครอง en
dc.subject พะเยา -- การเมืองและการปกครอง en
dc.subject ภูเก็ต -- การเมืองและการปกครอง en
dc.subject พังงา -- การเมืองและการปกครอง en
dc.title การศึกษาถึงความสอดคล้องระหว่างหลักการกับผลการปฏิบัติงาน ของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ : รายงานผลการวิจัย en
dc.type Technical Report es
dc.email.author amara.p@chula.ac.th
dc.email.author Charas.Su@chula.ac.th
dc.email.author Ake.T@Chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author Preecha.K@Chula.ac.th
dc.email.author Surichai.W@Chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record