dc.contributor.advisor |
อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
ปรียาภรณ์ บุญพยนต์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2010-03-30T02:25:26Z |
|
dc.date.available |
2010-03-30T02:25:26Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12395 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงเทคนิคโอโออาร์ที โดยการลดจำนวนเอกสารคำแนะนำในการตรวจสอบซอฟต์แวร์ลง จากการศึกษาลักษณะการเกิดของข้อบกพร่อง ในเอกสารการออกแบบซอฟต์แวร์โดยใช้แผนภาพยูเอ็มแอล (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเทคนิคการอ่านซอฟต์แวร์ ระหว่างเทคนิคโอโออาร์ทีที่ปรับปรุงแล้ว เทคนิคโอโออาร์ทีเดิม และเทคนิคซีบีอาร์ ในการตรวจสอบเอกสารการออกแบบซอฟต์แวร์เชิงวัตถุที่ออกแบบโดยแผนภาพยูเอ็มแอล งานวิจัยนี้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วนเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยในส่วนที่ 1 ดำเนินการเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดยศึกษาข้อบกพร่องที่มีในโครงงานการวิเคราะห์ และออกแบบระบบด้านธุรกิจด้วยแผนภาพยูเอ็มแอล จัดทำโดยนิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ ในวิชาการออกแบบระบบงานด้านธุรกิจ โดยผลการศึกษาที่ได้จะนำไปปรับปรุงเทคนิคโอโออาร์ที และในส่วนที่ 2 เป็นการทดลองเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 โดยให้นิสิตระดับมหาบัณฑิตที่ผ่านการเรียนรายวิชา ที่มีเนื้อหาด้านการวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์เชิงวัตถุแล้ว
ตรวจสอบเอกสารการออกแบบซอฟต์แวร์โดยแผนภาพยูเอ็มแอล โดยใช้เทคนิคโอโออาร์ทีที่ปรับปรุงแล้ว ผลการศึกษาในส่วนที่ 1 สามารถปรับปรุงเทคนิคโอโออาร์ทีได้ และในส่วนที่ 2 พบว่าเทคนิคโอโออาร์ทีที่ปรับปรุงแล้วมีประสิทธิภาพ สูงกว่าเทคนิคโอโออาร์ทีเดิม แต่ไม่สูงกว่าเทคนิคซีบีอาร์ แต่เทคนิคโอโออาร์ทีที่ปรับปรุงแล้วมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกับ เทคนิคโอโออาร์ทีเดิมและเทคนิคซีบีอาร์ ทั้งนี้ถ้าไม่คำนึงถึงข้อบกพร่องของเอกสารอธิบายคลาส จากการเปรียบเทียบแผนภาพคลาสเทียบกับเอกสารอธิบายคลาสพบว่า เทคนิคโอโออาร์ทีที่ปรับปรุงแล้วมีประสิทธิภาพสูงกว่าทั้งเทคนิคโอโออาร์ทีเดิมและเทคนิคซีบีอาร์ และเทคนิคโอโออาร์ทีที่ปรับปรุงแล้วมีประสิทธิผลสูงกว่าเทคนิคโอโออาร์ทีเดิม แต่ไม่แตกต่างกับเทคนิคซีบีอาร์ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The objective of the thesis are (1) To improve OORT software reading technique with reduced scenarios based on the distribution of defect types occurring in object-oriented design document with UML (2) To compare the efficiency and the effectiveness of software reading techniques : the improved OORT, the ordinary OORT, and the checklist based reading technique (CBR) in inspection of object-oriented design document with UML. The thesis is separated into 2 sections. The first section supports the first objective of the thesis in which object-oriented designs of small business systems as student projects in the Business System Design class in the Master of Science Program in Information Technology in Business are inspected. The defect found are analyzed for its distribution. In the other section, an experiment on current graduate students in software development related program with a prerequisite in object-oriented analysis and design course performed software inspection using the improved OORT on the designated design documents. The first section of the study results in the improved OORT. In the second section, it is found that using the improved OORT is more efficient than using the ordinary OORT, but using the CBR technique is still the most efficient. Nevertheless, using the improved OORT is not more effective than neither the ordinary OORT, nor the CBR technique. After neglecting the defects in class description according to class diagram, using the improved OORT is the most efficient, but using the improved OORT is not more effective than the CBR technique. |
en |
dc.format.extent |
3193230 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.330 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ซอฟต์แวร์ -- การควบคุมคุณภาพ |
en |
dc.subject |
วิธีเชิงวัตถุ (วิทยาการคอมพิวเตอร์) |
en |
dc.title |
การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้เทคนิคการอ่านซอฟแวร์โอโออาร์ที ในการตรวจสอบเอกสารการออกแบบซอฟแวร์เชิงวัตถุ |
en |
dc.title.alternative |
Improving efficiency and effectiveness in using object-oriented reading technique (OORT) in software inspection for object-oriented design document |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
assadaporn@acc.chula.ac.th, Assadaporn.S@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.330 |
|