Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของระบบสารสนเทศทางการ บัญชีภายใต้ความต้อง การใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับความสามารถในการตอบสนองของระบบสารสนเทศทาง การบัญชี ความสัมพันธ์ระหว่างความเหมาะสมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีขององค์กร กับการใช้ประโยชน์ จากระบบสารสนเทศทางการบัญชี และกับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน กรุงเทพมหานคร จากกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในกิจการผลิตสินค้า ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 52 ราย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีความเหมาะสมภายใต้ ความต้องการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับความสามารถในการตอบสนองของระบบ สารสนเทศทางการบัญชี คือ ด้านความถี่ในการรายงานผล ด้านความยืดหยุ่นในการใช้งานคือมีรูปแบบที่เรียบง่ายไม่ ซับซ้อน สามารถใช้งานได้คล่องตัวและสะดวก ด้านความสามารถในการพยากรณ์ และด้านการรับข้อมูล โดยอัตโนมัติ ความเหมาะสมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีด้านความสามารถในการพยากรณ์มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีในด้านการ จัดการข้อมูลทาง การบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความเหมาะสมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในด้าน การรับข้อมูลโดยอัตโนมัติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเพิ่มขึ้นของกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และความเหมาะสมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในด้านความยืดหยุ่นในการใช้งานมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับผลิตภาพของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความเหมาะสมของ
ระบบสารสนเทศทางการบัญชีด้านความสามารถในการพยากรณ์ สามารถพยากรณ์การใช้ประโยชน์จาก ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในด้านการจัดการข้อมูลทางการบัญชี (Accounting data management) ความเหมาะสมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในด้านความถี่ในการรายงานผล ด้านความสามารถใน การพยากรณ์ และด้านการเสนอแนวทางการตัดสินใจ สามารถพยากรณ์การใช้ประโยชน์จากระบบ สารสนเทศทางการบัญชีในด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (Users' Satisfaction) และความเหมาะสม ของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในด้านการรับข้อมูลอัตโนมัติสามารถพยากรณ์ผลการ ดำเนินงานของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการเพิ่มขึ้นของกำไร (Profitability growth) และด้านผลิตภาพ ของพนักงาน (Productivity) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05