Abstract:
สังเคราะห์ลำดับกรดอะมิโนบางส่วนทางปลาย C ของฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดจากก้านตากุ้งก้ามกรามโดยวิธี solid phase peptide synthesis คือ เพปไทด์ YANAVQV-NH2 (T-) และ เพปไทด์ YANAVQTV-NH2 (T+) นำเพปไทด์เชื่อมกับโปรตีน BSA และใช้กระตุ้นให้หนูขาวสร้างแอนติบอดีต่อเพปไทด์ ตรวจหาไตเตอร์และคุณภาพของแอนติบอดีต่อเพปไทด์ทั้งสองโดยวิธี indirect immunoperoxidase ELISA และ dot-ELISA และใช้ซีรัมที่มีไตเตอร์สูงที่สุดตรวจหาฮอร์โมน ที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในสารสกัดจากก้านตาที่แยกด้วยกระบวนการทาง RP-HPLC โดยวิธี dot-ELISA พบสารคล้ายเพปไทด์ T- และเพปไทด์ T+ ในแฟรคชันที่ 30 และ 38 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจากการตรวจหาการออกฤทธิ์ ของฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า แฟรคชันที่ 37-39 มีความสามารถในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดกุ้ง แต่แฟรคชันที่ 30 ไม่มีความสามารถในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดกุ้ง จากการใช้แอนติบอดีต่อเพปไทด์ทั้งสองเพื่อตรวจหาแหล่ง ที่พบฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในก้านตาโดยวิธี immunocytochemistry พบว่า แอนติบอดีต่อเพปไทด์ T+ เท่านั้นที่มีการติดสีที่เซลส์ประสาทใน Medullu Terminalis Ganglionic X-Organ (MTGXO) จำนวน 24+-5 เซลล์ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางของเซลล์เท่ากับ 18+-3 ไมโครเมตร และที่เส้นใยประสาทที่ส่งไปยังต่อมไซนัส จากผลการทดลองครั้งนี้แสดงว่าเฉพาะแอนติบอดีต่อเพปไทด์ T+ เท่านั้นที่สามารถจับกับฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นลำดับกรดอะมิในของฮอร์โมนนี้น่าจะประกอบด้วยกรดอะมิโน 72 หน่วย โดยมีทรีโอนีนอยู่ในตำแหน่งที่ 71