dc.contributor.advisor | อิศราวัลย์ บุญศิริ | |
dc.contributor.author | ศิริพงศ์ ศิริมงคลวัฒนะ, 2516- | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2006-05-29T04:37:04Z | |
dc.date.available | 2006-05-29T04:37:04Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.isbn | 9741715129 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/128 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาผลของกาวไพรเมอร์ 6 ชนิด (เมตาฟาสต์ ซีสีด ทู โอเพคไพรเมอร์ วี ไพรเมอร์ เมทัลไทท์ เมทัลไพรเมอร์ ทู และอัลลอยไพรเมอร์ ) ต่อความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนระหว่าง เรซินซีเมนต์ 2 ชนิด(พานาเวีย เอฟและซูเปอร์บอนด์ ซีแอนด์บี )และโลหะหล่อผสม 2 ชนิด(นิเกิล-โครเมียม- โมลิบดีนัม-เบอริลเลียม และทอง-พัลลาเดียม-เงิน-ทองแดง) โดยทำโลหะหล่อผสมแต่ละชนิดเป็นรูปทรง กระบอกจำนวน 100 คู่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 และ 9 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร จากนั้นนำชิ้นโลหะ หล่อผสมเป่าทรายอะลูมินัมออกไซด์ขนาด 50 ไมครอน ทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตราโซนิค และยึดชิ้นงานด้วยเรซินซีเมนต์แต่ละชนิดร่วมกับการใช้และไม่ใช้กาวไพรเมอร์ หลังแช่ชิ้นงานในอ่างควบคุมอุณหภูมิที่ 37+-2 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง นำมาทดสอบความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากล โดยใช้ความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที ผลการทดสอบพบว่าโลหะหล่อผสมนิเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม-เบอริลเลียม กลุ่มที่ใช้พานาเวีย เอฟร่วมกับซีสีด ทู โอเพคไพรเมอร์มีค่าความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนเฉลี่ยสูงสุด และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มไม่ใช้กาวไพรเมอร์ กลุ่มที่ใช้ซูเปอร์บอนด์ ซีแอนด์บีร่วมกับเมตาฟาสต์มีค่าความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนเฉลี่ยสูงสุด แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ใช้กาวไพรเมอร์อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนโลหะหล่อผสมทอง-พัลลาเดียม-เงิน-ทองแดง กลุ่มที่ใช้พานาเวีย เอฟร่วมกับเมทัลไพรเมอร์ ทู และซูเปอร์บอนด์ ซีแอนด์บีร่วมกับเมทัลไทท์ มีค่าความแข็งแรงของแรงยึดเฉือน เฉลี่ยสูงสุดและแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ใช้กาวไพรเมอร์อย่างมีนัยสำคัญ นำกลุ่มที่มีความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนเฉลี่ยสูงสุดแยกตามชนิดเรซินซีเมนต์ และชนิดโลหะหล่อผสมมาเตรียมพื้นผิว และยึดชิ้นงานอีกครั้ง จากนั้นแช่ชิ้นงานในอ่างควบคุมอุณหภูมิที่ 37+-2 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมงก่อนแช่ชิ้นงานในอ่างน้ำอุณหภูมิ 4+-2 และ 55+-2 องศาเซลเซียส สลับกันอ่างละ 30 วินาที จำนวน 10,000 รอบ หลังการทำเทอร์โมไซคลิง พบว่าโลหะหล่อผสมนิเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม-เบอริลเลียม กลุ่มพานาเวีย เอฟที่ไม่ใช้ กาวไพรเมอร์มีค่าความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนเฉลี่ยน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญกับความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนเฉลี่ยก่อนการทำเทอร์โมไซคลิงเพียงกลุ่มเดียว ส่วนโลหะหล่อผสมทอง-พัลลาเดียม-เงิน-ทองแดง พบว่าทุกกลุ่มมีค่าความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนเฉลี่ยน้อยกว่าความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนเฉลี่ยก่อนทำเทอร์โมไซคลิงอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นกลุ่มซูเปอร์บอนด์ ซีแอนด์บีที่ใช้ร่วมกับเมทัลไทท์ | en |
dc.description.abstractalternative | Evaluates the effect of six adhesive primers, i.e., METAFAST (MF), Cesead II Opaque Primer(CP II), V PRIMER (VP), METALTITE(MT), METAL PRIMER II (MP II), and ALLOY PRIMER(AP), on the shear bond strength between two resin cements, Panavia F(PF) and Superbond C&B(SB), and two casting alloys, Nickel-Chromium-Molybdynum-Beryllium (Ni-Cr-Mo-Be) and Gold-Palladium-Silver-Copper(Au-Pd-Ag-Cu). Casting alloys cylinders (is an empty set 7x2, is an empty set 9x2mm,100 pairs each) were tested. They were sandblasted with 50 micron aluminum oxide, cleaned with the ultrasonic cleaner, and then cemented with each of two resin cements with or without primer. After that they were stored in a 37+-2 degree celcius waterbath for 24 hrs, and then subjected to the shear bond test using universal testing machine at a crosshead speed of 0.5 mm/min. Results showed the highest mean shear bond strength on the Ni-Cr-Mo-Be alloy using PF with CP II and also demonstrated a significant difference compared to those without primer. The ones using SB with MF exhibited the greatest mean shear bond strength but no significant difference was found when compared with no primer.The Au-Pd-Ag-Cu alloy that used PF with MP II and SB with MT showed the highest mean of the shear bond strength and were significantly different compared to those with no primer. The group with highest mean of the shear bond strength on each of resin cements and casting alloys was retreated and rebonded. The specimens were stored in a 37+-2 degree celcius waterbath for 24 hrs, and then subjected to thermocycling (4+-2 and 55+-2 degree celcius,30 sec. for each cycle) for 10,000 thermal cycles. After thermocycling process, the Ni-Cr-Mo-Be alloy showed significantly lower mean of shear bond strength than the group without thermocycling in PF without primer only. The Au-Pd-Ag-Cu alloy yielded significantly lower mean shear bond strength than those without thermocycling except the group using SB with MT. | en |
dc.format.extent | 2902388 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.590 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เรซินทางทันตกรรม | en |
dc.subject | การยึดติดทางทันตกรรม | en |
dc.subject | ซีเมนต์ทางทันตกรรม | en |
dc.title | ผลของกาวไพรเมอร์ต่อความแข็งแรงของแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์และโลหะหล่อผสม | en |
dc.title.alternative | Effect of adhesive primers on the shear bond strength between resin cements and casting alloys | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมประดิษฐ์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Issarawon.B@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.590 |