DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกควบคุมตามหลักการกำกับดูแลกิจการ กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มิใช่สถาบันการเงิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล
dc.contributor.author กิตติชัย สถิตย์มั่นวิวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2010-06-16T03:49:06Z
dc.date.available 2010-06-16T03:49:06Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745313289
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12900
dc.description วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en
dc.description.abstract ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลไกควบคุมตามหลักการกำกับดูแลกิจการ กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มิใช่สถาบันการเงิน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุในการประมาณการและทดสอบความสัมพันธ์ และใช้ข้อมูลภาคตัดขวางในปี พ.ศ. 2546 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 285 บริษัท โดยใช้ค่า Tobin's Q Ratio แทนผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน สำหรับกลไกควบคุมวัดจากสัดส่วนของระดับการเปิดเผยข้อมูล ที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ สัดส่วนของกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท การควบรวมตำแหน่งของผู้บริหาร และสัดส่วนของกรรมการที่เป็นเครือญาติในคณะกรรมการบริษัท ผลการศึกษาพบว่าการที่กรรมการมีลักษณะเป็นเครือญาติกัน มีอิทธิพลทางลบต่อผลการดำเนินงานสำหรับสัดส่วนของระดับการเปิดเผยข้อมูล ที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ สัดส่วนของกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท และการควบรวมตำแหน่งของผู้บริหารไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ขนาดของบริษัทมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการดำเนินงาน แต่อายุของบริษัทมีอิทธิพลในทางลบกับผลการดำเนินงานของบริษัท เมื่อจำแนกการทดสอบเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่าให้ผลการทดสอบที่เหมือนกัน สำหรับตัวแปรการควบรวมตำแหน่งของผู้บริหารที่ไม่มีอิทธิพล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลการดำเนินงานในการทดสอบภาพรวม ในขณะที่สัดส่วนกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท ในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค และกลุ่มวัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรมพบว่า สัดส่วนกรรมการที่เป็นเครือญาติในคณะกรรมการบริษัท มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับกลุ่มทรัพยากรพบว่ามีเพียงกลไกควบคุม ที่วัดจากสัดส่วนกรรมการที่เป็นเครือญาติ ที่ไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อจำแนกการทดสอบเป็นกลุ่มขนาดรายได้พบว่า การควบรวมตำแหน่งของผู้บริหารไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกันกับการจำแนกกลุ่มอุตสาหกรรม นอกจากนี้เมื่อวัดผลการดำเนินงานด้วยอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์พบว่า การที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเป็นกลุ่มกรรมการที่เป็นเครือญาติ มีอิทธิพลในทางลบต่อผลการดำเนินงานเช่นเดียวกับระดับหนี้สิน และอัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุน ในขณะที่ขนาดของบริษัทมีอิทธิพลในทางบวกต่อผลดำเนินงาน en
dc.description.abstractalternative To investigate relationships between control mechanisms in corporate governance and corporate performance of listed companies in the Stock Exchange of Thailand other than financial institutions. The investigation is performed by estimate ordinary least-squares regressions (OLS) model with cross-sectional data of 285 listed companies in 2003. In regression model, adopt Tobin's Q ratio as a proxy of companies' performance and adopt the proportion of disclosure of corporate governance, the proportion of independent directors, duality, and the proportion of family members inthe board as a proxy of the control mechanisms in corporate governance. The result showed that the proportion of family members in the board is significantly and negatively associated with the performance, However, the proportion of disclosure of corporate governance, the proportion of independent diretors, and duality have no significance on the performance. In addition, the result showed that size has positive impact on performance but age of listed companies has negative impact on performance. When examining industrial sectors, the same results are showed that duality has no significantly with the performance. While the proportions of independent directors from agro & food industry sectors and property & construction sectors have positive impact on performance. The proportions of family members in the board from consumer products sectors and industrials sectors have negative impact on performance but resources sectors showed the proportion of family members in the board has no significance on the performance. In addition, the results of examined size of listed companies by revenue sectors showed that duality have no significance on the performance same as examined industrial sectors. Other results of this study, when we adopt ROA as a proxy of companies' performance, showed that the major shareholders held by family members in the board has negative impact on performance, leverage and capital expenditure ratio have negative impact on the performance. In addition, the result showed size has positive impact on performance. en
dc.format.extent 1620981 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การกำกับดูแลกิจการ -- ไทย en
dc.subject บริษัทมหาชน -- ไทย en
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกควบคุมตามหลักการกำกับดูแลกิจการ กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มิใช่สถาบันการเงิน en
dc.title.alternative The Relationship between control mechanisms in corporate governance and corporate performance of listed companies in the Stock Exchange of Thailand other than financial institutions en
dc.type Thesis es
dc.degree.name บัญชีมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การบัญชี es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Suphamit.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record