Abstract:
วัดและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ที่ควบรวมกิจการ ศึกษาความสัมพันธ์ 1) ขนาดของธนาคารพาณิชย์และ 2) สัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติ มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานที่แตกต่าง ทั้งนี้ได้ศึกษาจากธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ควบรวมกิจการตั้งแต่ปี 2542-2547 รวมทั้งสิ้น 7 แห่ง วัดประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) และตัวแบบจำลอง Data Envelopment Analysis อีกทั้งวิเคราะห์ผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย 2 ประชากร การทดสอบแบบจับคู่โดยใช้ t-test ทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และวิเคราะห์ผลแบบ Sentivity เพื่อหาปัจจัยนำเข้าหลักที่สำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ผลการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนแรกการวัดและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงาน พบว่าธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีขึ้นตามลำดับและมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เช่น ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางแห่งมีความสามารถในการหาแหล่งเงินฝากได้เป็นอย่างดี ส่วนที่สองทดสอบสมมติฐานพบว่าธนาคารพาณิชย์แต่ละขนาดมีประสิทธิภาพการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ส่วนในเรื่องการถือหุ้นโดยชาวต่างชาตินั้นไม่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานที่แตกต่างกัน และสุดท้ายในส่วนที่สามหาปัจจัยนำเข้าหลักที่สำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ คือ 1) ดอกเบี้ยจ่าย 2) เงินให้สินเชื่อ ทั้งนี้พบว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ดังนั้น หากในอนาคตธนาคารพาณิชย์ได้เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก