DSpace Repository

ผลของเปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยต่อคุณภาพของภาพรังสีทางเดินอาหารส่วนต้นในสุนัข

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพวิภา กมลรัตน์
dc.contributor.author ชานนท์ สินไสวผล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-06-22T01:14:03Z
dc.date.available 2010-06-22T01:14:03Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12941
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract ศึกษาการใช้เปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยเป็นสารเพิ่มความชัดภาพร่วมกับสารแบเรียม เพื่อเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทางเดินอาหารส่วนต้นในสุนัขพันธุ์ผสมที่มีสุขภาพดี จำนวน 8 ตัว สุนัขแต่ละตัวได้รับสารเพิ่มความชัดภาพสัปดาห์ละ 1 กรรมวิธี จนครบทั้ง 5 กรรมวิธีโดยการสุ่ม กรรมวิธีที่ 1 สุนัขได้รับสารแขวนตะกอนแบเรียมความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ ในขนาด 10 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม กรรมวิธีที่ 2 สุนัขได้รับสารแขวนตะกอนแบเรียมความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ ในขนาด 4 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ตามด้วยสารแขวนตะกอนเมทิลเซลลูโลสความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ ในขนาด 10 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม กรรมวิธีที่ 3, 4 และ 5 สุนัขได้รับสารแขวนตะกอนแบเรียมความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ ในขนาด 4 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ตามด้วยสารแขวนตะกอนเปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยที่มีความเข้มข้น 1.33, 1.83 และ 2.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขนาด 10 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม จากการเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ได้รับสารแบเรียมอย่างเดียว พบว่า กรรมวิธีที่ใช้เปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยทุกความเข้มข้นสามารถเพิ่มคุณภาพของภาพรังสี ความโปร่งแสง และการพองตัวได้ของลำไส้ และลดระยะเวลาเดินทางผ่านของสารเพิ่มความชัดภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผลที่ได้ไม่ต่างจากกรรมวิธีที่ใช้สารเมทิลเซลลูโลส สรุปได้ว่าการใช้เปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยเป็นสารเพิ่มความชัดภาพร่วมกับสารแบเรียม เป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการเพิ่มคุณภาพของภาพรังสีทางเดินอาหารส่วนต้นในสุนัข en
dc.description.abstractalternative Use of ispaghula husk as a contrast medium in combination with barium suspension was studied to increase the radiographic quality of upper gastrointestinal radiographs in eight healthy mixed-breed dogs. Each dog underwent 5 different procedures of contrast studies, at weekly intervals, through 5 randomized complete block designs. Procedure 1, the dog was administered 10 ml/kg of 40% barium suspension. Procedure 2, the dog received 4 ml/kg of 40% barium suspension followed by 10 ml/kg of 0.5% methylcellulose suspension. For procedures 3, 4 and 5, the dogs were given 10 ml/kg of ispaghula husk suspension at the concentrations of 1.33, 1.83 and 2.33%, respectively, after receiving 4 ml/kg of 40% barium suspension. All concentrations of ispaghula husk suspension provided higher radiographic quality, translucency and distensibility of the bowel, and a shorter transit time (p<0.05) when compared with the procedure that used only barium suspension. However, they did not differ from the procedure using methylcellulose. In conclusion, the use of ispaghula husk as a contrast medium in combination with barium suspension was a simple, safe and effective method for improving the radiographic quality of the upper gastrointestinal study in dogs. en
dc.format.extent 2414635 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.738
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สุนัข en
dc.subject การบันทึกภาพด้วยรังสี en
dc.subject ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ -- โรค en
dc.title ผลของเปลือกเมล็ดเทียนเกล็ดหอยต่อคุณภาพของภาพรังสีทางเดินอาหารส่วนต้นในสุนัข en
dc.title.alternative Effects of ispaghula husk on upper gastrointestinal radiographic quality in dogs en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Phiwipha.K@Chula.ac.th, fvetpst@chulkn.car.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.738


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record