Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยทางพฤติกรรม ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยทางสังคมที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย และศึกษาเปรียบเทียบสภาวะโรคฟันผุและพฤติกรรมทางทันตสุขภาพของเด็กไทยพุทธและไทยมุสลิมอายุ 18-36 เดือน ในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยทำการศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์มารดาหรือผู้ปกครองของเด็กโดยการใช้แบบสอบถามชนิดโครงสร้าง ร่วมกับการตรวจสภาพช่องปากของเด็กในกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เด็กจำนวน 56 คนในพื้นที่ศึกษามีความชุกของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยร้อยละ 69.5 อัตราผุ ถอน อุดเฉลี่ย 8.99 +- 10.63 ด้านต่อคน สภาวะโรคฟันผุระหว่างเด็กไทยพุทธและไทยมุสลิมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยเด็กไทยมุสลิมมีแนวโน้มของพฤติกรรมทางทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมากว่าเด็กไทยพุทธ ในแบบจำลองสุดท้ายของการวิเคราะห์แบบพหุปัจจัย พบว่าตัวแปรที่สัมพันธ์กับความชุกของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญ คือ อายุเด็ก (p<0.001) จำนวนครั้งในการกินนมตอนกลางคือของเด็ก (p<0.001) การได้รับทันตสุขศึกษาของผู้ปกครอง (p<0.001) การแปรงฟันทุกวันของเด็ก (p<0.05) และความร่วมมือของเด็กในการทำความสะอาดฟัน (p<0.05) ตัวแปรในแบบจำลองที่สัมพันธ์กับระดับอัตราผุ ถอน อดเป็นด้านต่อคนของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ คือ อายุเด็ก (p<0.001) การแปรงฟันทุกวันของเด็ก (p<0.01) การหลับคานมของเด็ก (p<0.01) การรับประทานของเหลวหวานใส่ขวด (p<0.05) และคะแนนอาหารหวาน (p<0.05)