Abstract:
โครงการวิจัยแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทย: สังเคราะห์ในภาพรวมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยภายใต้การดำเนินงานของโครงการชนบทศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยเป้ฯการนำผลการศึกษาที่ได้จากโครงการวิจัยแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยในระดับภูมิภาคทั้ง 6 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ขึ้นเป็นภาพรวมของการเรียนรู้ชนบทไทยของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ในการศึกษามีอยู่ 3 ประการ คือ 1) เพื่อประมวลผลรวบรวมแบบแผนการสอน และการเรียนรู้ด้านชนบท 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาและกระบวนการดำรงชีพและการมีส่วนร่วมในปัจจุบัน และ 3) เพื่อสรุปปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รวมถึงมาตรการเพื่อพัฒนาให้กระบวนการเรียนรู้ด้านชนบทศึกษา และด้านชุมชนศึกษาเป็นส่วนเกื้อหนุนต่อการพัฒนาของภูมิปัญญาของสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์โดยใช้การวิจัยหลายวิธีผสมผสานกัน ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์โดยไม่ทางการ วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบบเสวนา (Dialogical Research) และการประชุมเชิงนโยบายจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาสรุปโดยสังเขปได้ว่า แบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยของสถาบันอุดมศึกษาโดยภาพรวมยังคงเป็นการเรียนรู้ในชั้นเรียนผ่านประสบการณ์ของอาจารย์ผู้สอน และสื่อการสอนต่าง ๆ มากกว่าที่จะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในชนบท โดยเฉพาะหากมิใช่หลักสูตรที่เน้นด้านชนบทศึกษาโดยตรงนักศึกษาจะมีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาภาคสนามน้อย แหล่งความรู้เกี่ยวกับชนบทส่วนใหญ่ยังจำกัดวงอยู่ภายในรั้วมหาวิทยาลัยโดยอาจารย์ผู้สอน ตำรา สื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก บางแห่งมีการเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายบ้างแต่ก็เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น ในแง่ความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยงกับชนทบไทยจากหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษากับกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านหรือชุมชนนั้นยังคงมีช่องว่างอยู่มาก แต่ก็มีความพยายามที่ขยายฐานการเรียนรู้ด้านชนบทศึกษาให้กว้างออกไป ดายการสร้างเครือข่าวการเรียนรู้ร่วมกันกับชาวชนบทร่วมกับองค์การพัฒนาที่ทำงานเกี่ยวข้อง ซึ่งก็มีการริเริ่มและการก่อรูปของเครือข่ายการเรียนรู้เช่นนี้และเกิดขึ้นในแทบทุกภูมิภาคซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัยความพยายามพิเศษของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าจะยังไม่ปรากฏเป็นระบบที่ชัดเจนมั่นคงเป็นรูปธรรม ปัญหาและอุปสรรคอันเป็นที่มาของสภาพการณ์ดังกล่าวได้แก่ กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิมทีเห็นชนบทเพียงด้านเดียวคือ เป็นฐานทรัพยากรที่จะสนับสนุนแก่ภาคเมือง หรือภาคอุตสาหกรรม โดยการกอบโกยทรัพยากร ดิน น้ำ แรงงานคน และการส่งเสริมการผลิตที่ต้องการผลผลิตสูงแต่ทำลายความหลากหลายตามธรรมชาติ ซึ่งปรากฏให้เห็นในกระบวนวิชาในสถาบันอุดมศึกษาทั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ภายใต้กระบวนทัศน์เช่นนี้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยที่ไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงกับการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดของชุมชนชนบท การแบ่งแยกโดยขาดการเชื่อมดยงระหว่างกานสอนกันการวิจัยในมหาวิทยาลัย อุปสรรคด้านโครงสร้าง อันได้แก่ การปิดช่องทางการเรียนรู้จากภาคสนาม การไม่ยอมรับเทียบโอนการเรียนรู้นอกห้องเรียน การไม่มีช่องทางการเรียนรู้ข้ามภูมิภาคและระหว่างมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองกับชนบท ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแนวทางแก้ไขกล่าวคือ ประการแรกต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากอุตสาหกรรมนิยมเป็นหลักการพัฒนาที่ยังยืน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาที่ได้ดุลยภาพระหว่างเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม นัยความหมายที่สืบเนื่องจังเท่ากับการเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติต่อชนบทศึกษา ประการที่สอง เมื่อทัศนคติเปลี่ยนแล้วก็จะตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนหรือหลักสูตรทั้งในส่วนของวัตถุประสงค์และวิธีการ ประการที่สาม การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้นก็ต้องอาศัยพื้นฐานจากเครือข่ายการเรียนรู้ด้านชนบทไทยที่กว้างขวางระหว่างอุดมศึกษาและชุมชนในชนบท การมีฐานองค์ความรู้ที่กว้างขวางและหลากหลายนั้นย่อมเป็นพลังภูมิปัญญาของสังคมไทยทั้งในการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ ปละในการเป็นหลักประกันในการปรับตัวให้เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน ลู่ทางการปรับปรุงชนบทศึกษาและชุมชนศึกษาเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากมิได้รับความร่วมมือจากทุกภาคที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณาจารย์ผู้สอน สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำงานร่วมกับชุมชน และประการสุดท้าย หน่วยงานที่ดูแลด้านนโยบายโดยเฉพาะทบวงมหาวิทยาลัย และกรทรวงศึกษาธิการ ควรต้องปรับกระบวนทัศน์สู่การพัฒนาที่สมดุลย์และยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง และจากนั้นจะต้องมีนโยบายและมาตรการที่เป็นรูปธรรมเดี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านชนบทศึกษา อาทิ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยและระหว่างภาคการพัฒนาชนบท การส่งเสริมการเรียนรู้ในท้องถิ่นภาคสนาม การส่งเสริมระบบการเรียนรู้ข้ามภูมิภาค การส่งเสริมการสอนอขงอาจารย์ด้านชนบทและชุมชนศึกษาข้ามมหาวิทยาลัย (ทุนอาจารย์อาคันตุกะระหว่างมหาวิทยาลัย) และการจัดตั้งศูนย์เพื่อความเป็นเลิศด้านชนบทศึกษาและชุมชนศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้