dc.contributor.advisor |
วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์ |
|
dc.contributor.author |
วรรณกาญจน์ กาญจนมา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2010-07-20T02:18:42Z |
|
dc.date.available |
2010-07-20T02:18:42Z |
|
dc.date.issued |
2551 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13046 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
en |
dc.description.abstract |
เปรียบเทียบสภาพและโครงสร้างผลึกของชั้นออกไซด์บนโลหะไททาเนียม ที่ไม่ผ่านและผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยวิธีแอโนไดเซชัน เมื่อใช้ชนิดของสารละลายที่มีความเป็นกรด-ด่างต่างกัน โดยศึกษาสภาพพื้นผิวของโลหะคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมเกรด 2 ทั้งกลุ่มที่ไม่ผ่านและผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยกระบวนการแอโนไดเซชันที่ความต่างศักย์ 20 โวลต์ เป็นเวลา 15 นาที ในสารละลายที่มีความเป็นกรด-ด่างต่างกัน 3 ชนิด คือกรดฟอสฟอริก โซเดียมฟลูออไรด์ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นตัวแทนสภาวะกรด กลาง และด่างตามลำดับ หลังจากนั้นวัดความขรุขระพื้นผิวด้วยโปรไฟโลมิเตอร์ วัดค่ามุมสัมผัสด้วยคอนแทกแองเกิลมิเตอร์ วิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างผลึกชั้นออกไซด์ด้วยเอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน และวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นำข้อมูลความขรุขระพื้นผิวและค่ามุมสัมผัสมาหาความแตกต่างทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮนสำหรับค่าความขรุขระพื้นผิว และแบบบอนเฟอร์โรเนสำหรับค่ามุมสัมผัส ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์จะให้ความขรุขระพื้นผิว (Ra, 0.078 +- 0.014 ไมโครเมตร) และค่ามุมสัมผัส (16.75 +- 3.24 องศา) น้อยกว่ากรดฟอสฟอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ และกลุ่มที่ไม่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า โลหะไททาเนียมที่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ ให้คุณสมบัติความขรุขระพื้นผิวน้อยที่สุดแต่ให้ค่าความเข้ากันได้กับของเหลวสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับโลหะไททาเนียมที่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชันในสารละลายกรดฟอสฟอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ และกลุ่มที่ไม่ผ่านกระบวนการแอโนไดเซชัน |
en |
dc.description.abstractalternative |
To investigate the surface characteristics and crystal structure of titanium oxide before and after anodization using different pH electrolytes. Commercially pure titanium grade 2 plates were used in this study. Anodic oxidation was carried out in three different electrolytes, H3PO4 NaF and NaOH, to represent acidic, neutral, and alkaline conditions, respectively. The anodization was performed at 20V for 15 minutes. Then, surface roughness was measured with a surface profilometer, contact angle measurement was done with a contact angle meter, crystal structure of titanium oxide was observed with XRD and SEM. The data was statistically analyzed with one-way ANOVA, Tamhane multiple comparison for surface roughness and Bonferroni multiple comparison for contact angle. As a result, it was found that titanium specimens that were anodized using NaF electrolyte showed the lowest surface roughness (RA, 0.078 +- 0.014 µm). It is significantly different from titanium specimens that were anodized using either H3PO4 or NaOH and unanodized specimens. Moreover, NaF group also showed the lowest contact angle (16.75 +- 3.24 degree) with significant difference (p < 0.05). This indicated that among groups in experimentalist anodized titanium using NaF electrolyte displayed the lowest surface roughness and highest hydrophilicity. |
en |
dc.format.extent |
1054355 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.231 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ไทเทเนียม |
en |
dc.subject |
สารยึดติดทางทันตกรรม |
en |
dc.subject |
โลหะ -- แอโนดิกออกซิเดชัน |
en |
dc.subject |
พื้นผิววัสดุ |
en |
dc.title |
อิทธิพลของความเป็นกรด-ด่างต่อลักษณะเฉพาะบนพื้นผิวคอมเมอร์เชียลลีย์เพียวไททาเนียมที่เตรียมโดยวิธีแอโนไดเซชัน |
en |
dc.title.alternative |
An influence of pH on surface characteristics of commercially pure titanium using anodization |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Viritpon.S@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2008.231 |
|