ในช่วงเวลากล่า 700 ปี ของประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย ได้มีความเปลี่ยนแปลงในหลายรูปแบบเกิดขึ้น บทความนี้เป็นความพยายามที่จะใช้ “กระบวนการไดอาเลคติก” เป็นกรอบในการพิจารณาและทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น โดยเฉพาะในช่วงที่ไทยต้องเผชิญกับการคุกคามอย่างรุนแรงที่สุดจากมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นปัจจัยภายใน ในช่วงระหว่างรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7
จากการศึกษาประวัติวรรณคดีเยอรมัน ปรากฏว่า มีอยู่บ่อยครั้งที่วรรณกรรมในต่างยุคต่างสมัยกันหลายฉบับมีแก่นเรื่องอย่างเดียวกัน ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ประพันธ์มีความสนใจในปัญหาบางประการร่วมกัน, งานร้อยแก้วสามเรื่องที่ทำการศึกษาในเชิงวิจารณ์และเปรียบเทียบต่อไปนี้มีแก่นเรื่องคล้ายกัน กล่าวคือ เป็นปัญหาของปัจเจกชนที่โดยธรรมชาติเป็นผู้รักความสงบ ต้องการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างปกติสุข แต่สังคมส่วนหนึ่งกลับปฏิบัติต่อเขาอย่างมีอคติ ซึ่งกลายเป็นความ อยุติธรรม และทำให้เขาต้องกลายเป็นอาชญากรไปด้วยความจำเป็น เนื่องจากตัวละครบางตัวและเหตุการณ์ในเรื่องบางเหตุการณ์เป็นสิ่งที่ผู้ประพันธ์ได้รับแรงจูงใจจากตัวละครและเหตุการณ์ที่เคยมีชีวิตอยู่จริงและเกิดขึ้นจริง ฉะนั้นการศึกษางานร้อยแก้วดังกล่าวจึงเสมือนหนึ่งเป็นการศึกษาข้อเท็จจริงบางประการในประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์จริงด้วย งานวิทยานิพนธ์นี้ประกอบด้วยบทใหญ่ 3 บท ในบทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของงานร้อยแก้วทั้งสามเรื่องที่จะทำการศึกษา ในเชิงภูมิหลังและสมัยวรรณคดี ความสัมพันธ์ของผู้ประพันธ์กับเหตุการณ์จริง ซึ่งทั้งนี้จะได้กล่าวแต่โดยสังเขป เพราะหัวข้อดังกล่าวสามารถศึกษาได้จากหนังสือเล่มอื่นๆ ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยไว้มากแล้ว ในบทที่สอง ว่าด้วยการศึกษาเชิงวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมแต่ละฉบับตามแนวหัวข้อย่อย 3 หัวข้อ คือ ก.ตัวเอกของเรื่อง กล่าวถึง ลำดับความเป็นไปจนเป็นอาชญากร แรงจูงใจในการประกอบอาชญากรรม ความรับผิดชองและโทษที่ได้รับจากการกระทำนั้น ข. “ผู้ร้ายของเรื่อง” (หมายถึงตัวละครอื่นในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นปัจเจกชนหรือตัวแทนของสถาบันในสังคมนั้น ที่ทำตนเป็นศัตรูกับตัวเอกของเรื่อง หรือเป็นผู้มีส่วนผลักดันในทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ตัวเอกของเรื่องนั้นต้องประกอบอาชญากรรม) กล่าวถึงลักษณะความสัมพันธ์ที่มีต่อตัวเอก แรงจูงใจให้มีความสัมพันธ์เช่นนั้น และความรับผิดชอบที่จะต้องมีต่อความประพฤติเช่นนั้น และ ค. ข้อวิจารณ์และความเห็นส่วนตัวตามลักษณะโลกทัศน์ของผู้ประพันธ์ ที่ปรากฏในรูปแบบการนำเสนอและทางภาษาในบทที่สาม ซึ่งเป็นบทสุดท้าย เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบวรรณกรรมทั้งสามเรื่องตามแนวที่ได้ทำการศึกษามาแล้วในบทที่สอง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นว่า ข้อแตกต่างที่มีอยู่นั้นเป็นด้วยอิทธิพลแวดล้อมต่างๆทั้งทางสังคมและวุฒิปัญญา ตลอดจนรูปแบบของวรรณคดีในสมัยนั้นๆ