Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงคุณภาพกำไรทั้งช่วงก่อนและหลังการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิจัยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าคุณภาพกำไร ก่อนการ ออกหุ้นสามัญเพิ่มต่ำกว่าคุณภาพกำไรหลังการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน เนื่องจากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามี การจัดการกำไรช่วงก่อนการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ซึ่งหมายถึงว่ากำไรที่นำเสนอในงบการเงินนั้น มีคุณภาพต่ำ หรือไม่ใช่กำไรที่แท้จริงที่ได้มาจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ การศึกษา ใช้ข้อมูล จากงบการเงินของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 โดยคุณภาพกำไรวัดได้จาก ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน อัตราส่วน ความเพียงพอของกระแสเงินสด จากการดำเนินงาน อัตราส่วนผลกระทบของค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่าย ตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสด อัตราส่วนการลงทุนต่อ อัตราส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเมื่อเทียบกับ กระแสเงินสดสุทธิ อัตราส่วน ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย และอัตราส่วนผลตอบแทนของกระแส เงินสดต่อสินทรัพย์รวม งานวิจัยนี้ใช้วิธี การทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากร แบบจับคู่ โดยใช้พารามิเตอร์ตามวิธี Paired T-test ควบคู่ไปกับการทดสอบสมมติฐานค่ามัธยฐานโดยไม่ใช้พารามิเตอร์ตามวิธี Wilcoxon Signed-Rank Test การทดสอบทั้งหมดใช้ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าอัตราส่วนที่ใช้วัดถึงคุณภาพกำไรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนิน งาน อัตราส่วนผลกระทบของค่าเสื่อมราคา และค่าใช่จ่ายตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสดอัตราส่วนการ ลงทุนต่อ อัตราส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเมื่อเทียบกับกระแสเงินสดสุทธิ และอัตราส่วนผลตอบแทน ของกระเงินสดต่อสินทรัพย์รวม ซึ่งมีค่ามัธยฐานของอัตราส่วนช่วงก่อนการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ทั้งสูง และต่ำกว่าค่ามัธยฐานของอัตราส่วนช่วงหลังการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน และเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ ตั้งเอาไว้ ในทางกลับกันค่ามัธยฐานของอัตราส่วนความเพียงพอของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยไม่สามารถใช้วัดถึงคุณภาพกำไรได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ และไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งเอาไว้