dc.contributor.author |
วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2010-08-19T11:59:51Z |
|
dc.date.available |
2010-08-19T11:59:51Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13266 |
|
dc.description |
หัวหน้าโครงการ: ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์ ; รองหัวหน้าโครงการ: ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล ; ผู้ร่วมวิจัย: ปรีชา แสงธีระปิติกุล ; ผู้ช่วยวิจัย: นฤมล ศรีวิฑูรย์, ทศพล ประเสริฐเดชาโต |
en |
dc.description.abstract |
ฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติที่ได้ศึกษาในงานวิจัยนี้ เตรียมจากชานอ้อยซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยผ่านกระบวนการเตรียมของผสมหนืด (Viscose Process) โดยนำชานอ้อยซึ่งผ่านการบอดและอบไล่ความชื้นมาทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นนำมากรองเอาแต่กากบ่มทิ้งไว้ แล้วทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดซัลไฟด์ จากนั้นทำปฏิกิริยาอีกครั้งกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจางเข้มข้นร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก ได้เป็นของผสมหนืด นำของผสมหนืดที่ได้ผสมกับผลึกเกลือโซเดียมซัลเฟตแล้วขึ้นรูปในสภาวะกรด เกิดเป็นฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติ ในงานวิจัยนี้ได้ทดลองเตรียมฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติที่สภาวะต่างกัน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดูดซึมน้ำมันดิบของฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติที่เตรียมได้ โดยเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ในช่วงความเข้มข้นร้อยละ 18-22 โดยน้ำหนัก ใช้อุณหภูมิสำหรับบ่มอัลคาไลเซลลูโลสในช่วง 30-95 องศาเซลซียส ปริมาตรคาร์บอนไดซัลไฟด์ 22–45 มิลลิลิตร และปริมาณเกลือโซเดียมซัลเฟตโดยเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนในการผสมกับของผสมหนืด ใน 4 อัตราส่วน ได้แก่ ปริมาณเกลือโซเดียมซัลเฟต 25% 50% 66% และ 75% นำฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติที่ได้ไปทดสอบความสามารถในการดูดซึมน้ำมันดิบและน้ำทะเล เปรียบเทียบกับความสามารถในการดูดซึมน้ำมันดิบและน้ำทะเลของพอลิพรอพิลีน ซึ่งเป็นวัสดุดูดซึมที่ใช้ในทางการค้า พบว่าการเตรียมฟองน้ำด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 18% และผสมกับเกลือโซเดียมซัลเฟตในอัตราส่วน 50% ทำให้ฟองน้ำดูดซึมน้ำมันดิบได้ดีที่สุด ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการดูดซึมน้ำมันดิบได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการบ่มอัลคาไลเซลลูโลสและปริมาตรคาร์บอนไดซัลไฟด์ เมื่อบ่มด้วยด้วยอุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียสและใช้ปริมาตรคาร์บอนไดซัลไฟด์ 25 มิลลิลิตร ทำให้ฟองน้ำมีความสามารถในการดูดซึมน้ำมันดิบได้สูงถึง 12.0 เท่าของน้ำหนักแห้ง เมื่อเทียบกับความสามารถในการดูดซึมน้ำมันดิบของพอลิพรอพิลีนซึ่งเป็นวัสดุดูดซึมทางการค้า พบว่าฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติมีความสามารถในการดูดซึมสูงกว่าพอลิพรอพิลีน 1.25 เท่า |
en |
dc.description.abstractalternative |
Cellulose sponges can be prepared from bagasse which is an agricultural waste material via viscose process. First, grinded and dried bagasses was reacted with sodium hydroxide solution, then aged filtrate for a while and reacted with carbon disulfide. After that cellulose xanthate was reacted with 4% NaOH sodium hydroxide solution to get viscose mixture. Viscose mixture was mixed with crystal sodium sulfate and molded by 10% H[subscript 2]SO[subscript 4] to get cellulose sponge. In this thesis, Variation of condition was experimented. It was varied on concentration of sodium hydroxide in range of 18-22% by weight, aging alkali cellulose temperature in the range 30-95 degree celcius, volume of carbon disulfide in the range of 25-45 ml, and the amount of crystal sodium sulfate in 25%, 50%, 66%, and 75%. Cellulose sponges were tested for crude oil and seawater absorbtion capacity to compare to that of polypropylene which is a commercial sorbent. From the experiment cellulose sponges prepared in the condition of 10% soidium hydroxide, aging alkali cellulose temperature of 95 degree celcius, volume of carbon disulfide 25 ml, and 50% sodium sulfate have the highest crude oil absorbion capacity. They can absorb crude oil in 12.0 times dry weight. Comparing to polypropylene, the crude oil absorption capacity of regenerated cellulose sponge is more than that of polypropylene 1.25 times. |
en |
dc.description.sponsorship |
ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก โครงการวิจัยร่วมภาครัฐ-เอกชน ประจำปีงบประมาณ 2546-2547 |
en |
dc.format.extent |
4881640 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ชานอ้อย |
en |
dc.subject |
การกำจัดคราบน้ำมัน |
en |
dc.subject |
การดูดซึม |
en |
dc.subject |
มลพิษทางน้ำ |
en |
dc.subject |
เซลลูโลส |
en |
dc.subject |
กระบวนการเตรียมของผสมหนืด |
en |
dc.title |
การผลิตเซลลูโลสที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำจากวัสดุเหลือใช้เพื่อใช้เป็นตัวดูดซับ และ/หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
en |
dc.title.alternative |
Innovation of cellulose sponge from waste materials to use as absorbent/catalyst for petrochemical industries |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
Wiwut.T@Chula.ac.th |
|