dc.contributor.advisor |
สุภาพร เชิงเอี่ยม |
|
dc.contributor.author |
เสาวลักษณ์ เอี่ยมวชิรกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2010-08-25T01:35:40Z |
|
dc.date.available |
2010-08-25T01:35:40Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13311 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
en |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานกับลักษณะของบริษัท ได้แก่ ขนาดกิจการ โครงสร้างการเป็นเจ้าของระดับโครงสร้างทุน ความสามารถในการทำกำไร ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย สัดส่วนในที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์และประเภทสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระดับการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานวัดมูลค่าโดยใช้ดัชนีการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานที่คำนวณจากรายการข้อมูลที่เปิดเผยตามส่วนงานในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียนที่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานในหมาเยเหตุประกอบงบการเงิน ในงบการเงินรวมของบริษัทระหว่างปี พ.ศ. 2547-2548 รวม 292 บริษัท ยกเว้นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มกิจการที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการและกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความแตกต่างของระดับการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานของบริษัทในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และทดสอบ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุและการทดสอบครูสคัล-วิลลิส ผลการศึกษาพบว่าบริษัทจดทะเบียนมีการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานตามที่มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 50 กำหนดไว้ค่อนข้างน้อย โดยบริษัทส่วนใหญ่มีการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานหลัก แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานรอง ลักษณะของบริษัทที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับระดับการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงาน คือ ขนาดของบริษัท
และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย โดยขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานทั้งการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานหลักและการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานรอง และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานรองเท่านั้น นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานในแต่ละอุตสาหกรรมพบว่า บริษัทในแต่ละอุตสาหกรรมมีการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานหลักในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่ากลุ่มทรัพยากร กลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มบริการ ตามลำดับ มีการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานหลักในระดับที่ค่อนข้างสูงและแตกต่างจากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระดับการเปิดเผยข้อมูลตามส่วนงานรองของบริษัทในแต่ละอุตสาหกรรมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study is to examine the association between segment disclosure level and firm's characteristics including firm's size, ownership structure, leverage, profitability, minority interest, assets in place and type of audit firms of the companies listed in the Stock Exchange of Thailand. Segment disclosure level is evaluated using segment disclosure index calculated from segment disclosure items in footnotes to financial statements. The data consists of 292 listed companies with disclosed segment information in notes to financial statement during 2004-2005 excluding companies in finance and security section, companies under rehabilitation section and the other section. This study also examines the difference of segment disclosure level among industry groups. The statistical methods used for analysis and testing hypotheses are multiple regression analysis and Kluskal-Wallis H Test. The results indicate that listed companies disclose relatively limited amount of segment information according to the requirements of Thai Accounting Standard No. 50 (TAS 50).Most listed companies only disclose primary segment without disclosing secondary segment. The firm's characteristics related to segment disclosure level are size and minority interest. Size is found to be positively related to both primary segment disclosure level and secondary segment disclosure level. Minority interest in positively correlated to the secondary segment disclosure level only. The levels of primary segment disclosures among industry groups are significantly different. The industry sections with relatively high segment disclosure level for primary segment are the resource section, technology section, and service section, respectively, of which disclosure level is found significantly different from other industry groups. However, there is no significant difference for the secondary segment disclosure among industries. |
en |
dc.format.extent |
1687664 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.261 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
en |
dc.subject |
การบัญชี |
en |
dc.subject |
บริษัทมหาชน -- งบการเงิน |
en |
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของบริษัทกับระดับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
en |
dc.title.alternative |
The association between firm's characteristics and segment discloslure level of the companies listed in the Stock Exchange of Thailand |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
บัญชีมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การบัญชี |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Supapon.C@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2006.261 |
|