DSpace Repository

ปัญหากระบวนการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณรงค์เดช สรุโฆษิต
dc.contributor.author สมฤทธิ์ ไชยวงค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-09-13T07:07:41Z
dc.date.available 2010-09-13T07:07:41Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13466
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด นับว่ามีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากรัฐธรรมนูญคาดหวังว่า บุคคลเหล่านั้นจะเป็นตัวจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ที่ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญไว้ ดังนั้น ในการเข้าสู่ตำแหน่ง จึงต้องมีการกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม มีการสรรหา การเลือก และการให้ความเห็นชอบถูกต้องตามกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งยังต้องมีความมั่นคงในการดำรงตำแหน่ง ที่จะเป็นหลักประกันให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมีความเป็นอิสระ และเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ และอยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือมีเหตุให้พ้นจากตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการสรรหาและการเลือกผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้วุฒิสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดและมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อ เมื่อวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว ถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยสมบูรณ์ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่า กระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลผูกพันให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นพ้นจากตำแหน่งไปโดยผลของคำวินิจฉัย เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ในการวินิจฉัยถึงสถานภาพของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไว้โดยตรง แต่มีผลผูกพันให้องค์กรที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินกระบวนการสรรหา การเลือกและการให้ความเห็นชอบบุคคลใหม่ และเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้วจึงจะมีผลให้ผู้ดำรงตำแหน่งคนเดิมพ้นจากตำแหน่งไปโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักความมั่นคงในตำแหน่ง และหลักการคุ้มครองความเชื่อมั่นในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครอง จากผลการศึกษาข้างต้น ผู้จัดทำวิทยานิพนธ์ จึงสรุปเป็นข้อเสนอแนะว่า เห็นควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสรรหา การเลือก และการให้ความเห็นชอบ เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจสับสนในการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งควรบัญญัติหลักเกณฑ์คำว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญและปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน และบัญญัติข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัย ไว้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วย en
dc.description.abstractalternative A person in the organizational position as stipulated by the constitution is regarded most important because he would play a significant rote in propelling the constitutional provisions to achieve the intended objectives. Therefore, to appoint a person in the position, there are factors to consider such as the qualifications prohibitions selections and approval in accordance with what the law stipulates. The position must be stable to ensure that the person appointed in such position is so independent to perform his duty up until his term is over or being deposed through legal transparency. According to the studies, it has been found that the selection of the Auditor General is authorized to the state Audit Commission under approval by Senate. The Auditor General is a person who gains maximum votes and not fewer than a half of the existing member of the state Audit commission as proposed by the selection committee. Once the Senate approved and appointed by the King, that person is deemed completely appointed. The ruling by the constitutional court that the selection process is not legitimate would cause no effects for that person appointed as Auditor General to be deposed. This is because the constitution does not empower the constitutional court to rule the status of the Auditor General directly in order to guarantee the Auditor General status and protect the Administrative order. But it is the duty to the responsible organization to renew the process of selection. When the King appointed a new Auditor General, then the former is automatically deposed. According to the studies, it is suggested that the selection process and approval provisions should be amended so that it will not cause confusion in the applying for concerning organizations. Such provisions should be clarified of the meaning of “The Constitutional Organization” and “the competence dispute” between the organizations. Finally The Constitutional Court decision should be indicated the way and procedure to execute its decision. en
dc.format.extent 2427334 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1709
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน en
dc.subject คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน en
dc.subject รัฐธรรมนูญ -- ไทย en
dc.subject ศาลรัฐธรรมนูญ en
dc.title ปัญหากระบวนการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน en
dc.title.alternative Legal problems concerning the selection of an auditor general en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Narongdech.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1709


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record