DSpace Repository

ปัญหาการออกกฎที่มีผลเป็นการยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณรงค์เดช สรุโฆษิต
dc.contributor.author จักรพล ลิ้มตระกูล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-09-16T02:07:43Z
dc.date.available 2010-09-16T02:07:43Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13474
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract โดยทั่วไป การยกเลิกหรือแก้ไขฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภานั้นต้องกระทำโดยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันเช่น พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา เคยมีกรณีที่รัฐสภาไทยออกพระราชบัญญัติมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎในรูปพระราชกฤษฎีกา เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติได้ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการ เหตุผล กรณี และเงื่อนไขในการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎในลักษณะดังกล่าว จากผลการศึกษาพบว่า ในระบบกฎหมายอังกฤษและฝรั่งเศสต่างมีการออกกฎ ที่สามารถยกเลิกหรือแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาได้ แต่จำกัดเฉพาะเรื่อง (1) การอนุวัติการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐสภาเห็นชอบแล้ว (2) การบริหารรัฐกิจ และ (3) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ที่สำคัญ ได้มีการกำหนดกระบวนการในการควบคุมตรวจสอบการออกกฎในลักษณะดังกล่าวเข้มงวดกว่าการออกกฎในกรณีทั่วไป เช่น ในประเทศอังกฤษ ก่อนการออกกฎต้องมีการปรึกษาหารือและการประชาพิจารณ์ และมีกระบวนการตรวจสอบที่เรียกว่า “การวางกฎต่อรัฐสภา” เป็นการเฉพาะ ส่วนกรณีปัญหาของประเทศไทยอันได้แก่ พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารออกกฎในรูปพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายอื่นในระดับพระราชบัญญัตินั้น เห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการบริหารรัฐกิจซึ่งเข้าข้อยกเว้นดังเช่นที่เป็นระบบกฎหมายทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม กฎหมายของไทยทั้งสองฉบับดังกล่าวกลับมิได้มีกลไกในการตรวจคุมตรวจสอบที่เข้มงวดเพียงพอ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่า 1. การออกกฎที่มีผลเป็นการยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายในระดับพระราชบัญญัตินั้น ควรจำกัดขอบเขตเฉพาะเรื่องการบริหารรัฐกิจและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเท่านั้น และ 2. หากมีกรณีดังกล่าว ควรกำหนดไว้ในกฎหมายที่ให้อำนาจว่า ต้องนำกฎไปขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนประกาศใช้ en
dc.description.abstractalternative Generally, revoking or amending an act of parliament shall be done by an equivalent legislation such as an act of parliament or an emergency decree. Nonetheless, Thai parliament passed an act enabling the Executives to issue a Royal decree, a delegated legislation, to revoke or amend other acts. This thesis aims to study principles. Rationales, states and conditions of such empowerment. Under the English and French legal systems, a delegated legislation is authorized to repeal or modify acts of parliament on conditions that it relates to (a) implementation of international commitments already approved by Parliament, (b) public administration, or (c) privatization. More importantly, both systems set up special procedures for scrutinizing an issuance of such delegated law. For instance, consultation and public hearings must be held prior to the issuance thereof, and must be laid before the British Parliament. With regard to similar cases occurring in Thailand, i.e., the Reorganization of State Authorities Act B.E. 2545, and the Privatization Act B.E. 2542, they are found consistent with the exceptional criteria of the two above countries. However, they still lack comprehensive process of scrutiny. As a result, the author puts forward the two following recommendations. An issuance of a delegated legislation amending or revoking an act of parliament shall be limited only to matters regarding public administration and privatization. Once there be such case, an enabling legislation must clearly specify in the an delegated law issued thereof shall be laid before parliament prior to its promulgation. en
dc.format.extent 13168829 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1711
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อำนาจนิติบัญญัติ en
dc.subject การแก้ไขกฎหมาย en
dc.title ปัญหาการออกกฎที่มีผลเป็นการยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ en
dc.title.alternative Problems on the issuance of delegated legislation revoking of amending acts of parliament en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Narongdech.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1711


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record