dc.contributor.author | วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล | |
dc.contributor.author | อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ | |
dc.contributor.author | ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2010-09-18T06:03:45Z | |
dc.date.available | 2010-09-18T06:03:45Z | |
dc.date.issued | 2547 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13494 | |
dc.description.abstract | ศึกษาลักษณะสมบัติของอนุภาคพอลิเอสเทอร์ใหม่และอนุภาคที่ผ่านการพ่นเคลือบแล้ว ในกระบวนการพ่นเคลือบอนุภาคพอลิเอสเทอร์บนโคมไฟโลหะด้วยไฟฟ้าสถิต และหาสภาวะการพ่นเคลือบอนุภาคที่เหมาะสม เพราะมีความสำคัญต่อการลดการสูญเสียอนุภาคในการพ่นเคลือบ การนำอนุภาคที่ผ่านการพ่นเคลือบแล้วกลับมาใช้ใหม่ และประสิทธิภาพการพ่นเคลือบอนุภาคซึ่งพิจาราณาจากประสิทธิภาพการถ่ายโอนของอนุภาค ความหนาของผิวเคลือบ การยึดติดของอนุภาคกับผิวชิ้นงาน และความสวยงามของผิวเคลือบบนชิ้นงาน ลักษณะสมบัติของอนุภาคที่ศึกษาคือ รูปร่าง ขนาด การกระจายตัวของขนาดอนุภาค ปริมาณความชื้น ความหนาแน่นสมบัติการไหล สภาพการไหลและความสามารถในการสะสมประจุไฟฟ้า ผลที่สังเกตได้คืออนุภาคที่ผ่านการพ่นเคลือบแล้วมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยลดลง การกระจายตัวของขนาดอนุภาคกว้างขึ้น มีปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้น และเกิดการจับตัวเป็นก้อน ทำให้สมบัติการไหลและสภาพการไหลลดลง และมีประจุไฟฟ้าสะสมบนผิวอนุภาคเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ความหนาแน่นของอนุภาคไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับการทดสอบสภาวะการพ่นเคลือบใช้อนุภาคพอลิเอสเทอร์ใหม่พ่นบนชิ้นงานขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 70x150 มิลลิเมตร ด้วยอุปกรณ์พ่นเคลือบอนุภาคแบบพ่นมือ พบว่าความหนาของผิวเคลือบบนชิ้นงานและประสิทธิภาพการถ่ายโอนของอนุภาคไม่แตกต่างกันในช่วงศักย์ไฟฟ้า 30-80 กิโลโวลต์ และได้ความหนาตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ เมื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างปืนพ่นอนุภาคกับชิ้นงานจาก 100-300 มิลลิเมตร ความหนาของผิวเคลือบบนชิ้นงานและประสิทธิภาพการถ่ายโอนของอนุภาคลดลง เมื่อเพิ่มอัตราการพ่นอนุภาคในช่วง 0.3 ถึง 1.0 กรัมต่อวินาที พบว่าความหนาของผิวเคลือบบนชิ้นงานเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพการถ่ายโอนของอนุภาคลดลง และเมื่อเพิ่มระยะเวลาในการพ่นเคลือบจาก 0-25 วินาที ความหนาของผิวเคลือบบนชิ้นงานเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการถ่ายโอนของอนุภาคมีค่าสูงที่เวลาประมาณ 3 วินาที หลังจากนั้นจึงลดลง จากสภาวะการพ่นเคลือบที่ได้ใช้ทดสอบกับอนุภาคพอลิเอสเทอร์ใหม่ ผสมกับอนุภาคที่ผ่านการพ่นเคลือบแล้ว พบว่าที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักของอนุภาคพอลิเอสเทอร์ใหม่ต่ออนุภาคที่ผ่านการพ่นเคลือบแล้วเท่ากับ 3:1 ค่าประสิทธิภาพการถ่ายโอนอนุภาคเท่ากับ 53% นอกจากนี้เพื่อหาแนวทางลดการสูญเสียอนุภาคจากการพ่นเคลือบซ้ำ ใช้โปรแกรม Microsoft Excel จำลองการกระจัดของการเคลื่อนที่ของปืนพ่นอนุภาค 4 กระบอก กับระยะทางที่สายพานนำชิ้นงานเคลื่อนที่ของกระบวนการพ่นเคลือบแบบอัตโนมัติ โดยศึกษาที่ค่าอัตราเร็วการเคลื่อนที่ของปืนอนุภาค 0.40-0.55 เมตรต่อวินาทีและอัตราเร็วของสายพานนำชิ้นงาน 0.030-0.035เมตรต่อวินาที โคมไฟที่ใช้ศึกษามีขนาด กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 600 x 1,216 x 120 มิลลิเมตร ทั้งนี้ผลที่ได้ต้องไม่เกิดการซ้อนทับของการกระจัดของการเคลื่อนที่ของปืนพ่นอนุภาค | |
dc.description.abstractalternative | Powder characteristics of fresh and reused polyester resins and coating conditions in a metal-lantern electrostatic coating process were studied as they play an important role in reducing polyester resin loss, recycling of the resin and coating efficiency, which was considered in terms of powder transfer efficiency, film thickness, adhesion and product appearance. Powder characteristics regarding shape, size, particle size distribution, moisture content, density, flowability, fluidity and chargeability were investigated. It was found that the reused polyester resin had smaller mean particle diameter; larger particle size distribution; higher moisture content and chargeability leading to agglomeration; and lower flowability and fluidity than fresh resin, but no change in density. The coating conditions were examined by coating fresh polyester resin on a work piece of 70 x 150 nm by a manual spray gun. It was found that the spray gun voltages of 30-80 kV had almost no effect on film thickness and powder transfer efficiency, however, the thickness was within specification. An increase in the distance between the spray gun and work piece from 100 to 300 nm, film thickness and powder transfer efficiency decreased. By increasing the gun output from 0.3 to 1.0 g/s, film thickness increased but powder transfer efficiency decreased. Subsequently, by changing coating time from 0 to 25 seconds, film thickness increased. The maximum powder transfer efficiency was obtained at about 3 seconds and decreased afterwards. Thereafter, fresh and reused polyester resins were mixed and coated on the work piece with the same size. As a result, the powder transfer efficiency of 53% was obtained at the weight ratio of fresh and reused polyester resin of 3:1. In addition, to reduce the overspraying, the Microsoft Excel program was used to simulate the displacements of 4 spray guns and the conveyor distance for the automatic process of this case study. The speed of the spray gun and conveyor speed were varied at the ranges of 0.40-0.55 m/s and 0.030-0.035 m/s, respectively. The metal lantern of 600 x 1,216 x 120 nm was used. No overlapping of the displacements of the spray guns must be considered. | |
dc.description.sponsorship | ทุนสนับสนุนจากโครงการวิจัยร่วมภาครัฐ-เอกชน ประจำปีงบประมาณ 2547 | en |
dc.format.extent | 13073073 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อนุภาค | en |
dc.subject | โพลิเอสเตอร์ | en |
dc.subject | กระบวนการเคลือบผิว | en |
dc.subject | ไฟฟ้าสถิต | en |
dc.title | การเพิ่มประสิทธิภาพการพ่นเคลือบอนุภาคพอลิเอสเตอร์บนโคมไฟโลหะโดยใช้ไฟฟ้าสถิตย์ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Wiwut.T@Chula.ac.th | |
dc.email.author | wanchal@kmitl.ac.th | |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล |