DSpace Repository

เทคนิคการจองช่องสัญญาณที่ใช้โทเค็นหลายอัน สำหรับโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลาง ในระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-10-02T09:44:55Z
dc.date.available 2010-10-02T09:44:55Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13563
dc.description.abstract ศึกษาปัญหาการจองช่องสัญญาณที่ใช้โทเค็นหลายอันสำหรับโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลางในระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง เทคนิคการจองช่องสัญญาณที่นำเสนอมี 3 เทคนิคคือ MT-CFP, MT-UNI และ MT-UNI+LA หลักการพื้นฐานที่สำคัญซึ่งนำมาใช้ในการพัฒนาเทคนิคที่เสนอประกอบด้วย การใช้ค่าความน่าจะเป็นในการจองแบบค่าคงที่ การเลือกสล็อตการจองอย่างสุ่ม และการจำกัดจำนวน เทคนิคทั้งหมดที่เสนอได้รับการออกแบบให้เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับระบบที่เวลาประวิงการแพร่กระจายครบรอบ (Round-trip propagation delay) ยาวกว่าเวลาประวิงการส่งสัญญาณ (Transmission delay) สมรรถนะของเทคนิคแต่ละเทคนิคที่เสนอถูกประเมินในรูปของจำนวนผู้ใช้บริการโดยเฉลี่ยที่ประสบความสำเร็จ ในการจองภายใต้ข้อกำหนดของระบบที่แตกต่างกันหลากหลายลักษณะ โดยการปรับเปลี่ยนจำนวนผู้ใช้บริการจำนวนสล็อตการจอง และจำนวนโทเค็นการจอง การประเมินสมรรถนะของระบบอาศัยการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เป็นหลัก ชุดสมการที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถให้ผลลัพธ์เป็นพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบ พร้อมทั้งนำเสนอแนวการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และสูตรการประมาณจำนวนโทเค็นที่เหมาะสมในระบบต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อสมรรถนะของเทคนิคที่ใช้โทเค็นหลายอัน ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของเทคนิคการจองที่นำเสนอได้นำไปเปรียบเทียบกับเทคนิคเดิมซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้โทเค็นเพียง 1 อัน ได้แก่ CFP, UNI และ UNI+LA พบว่าเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้นทั้งหมดมีสมรรถนะเหนือกว่าเทคนิคที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่โหลดของระบบมีค่าน้อยถึงปานกลาง
dc.description.abstractalternative This research final report investigates the problem of multi-token channel reservation for media acess control protocols in high speed wireless communication systems. Three distinct channel reservation techniques are proposed, namely MT-CFP, MT-UNI, MT-UNI+LA. The key basic methodology applied in developing these techniques includes the use of fixed request probability, uniform and limited access. All techniques are designed and optimized specifically for the system in which the round-trip propagation delay is comparatively longer than the transmission delay. The performance of each proposed technique is evaluated in terms of the average number of successful users under various different system configurations by varying the number of users, the number of request slots and the number of tokens. The mathematical analysis is extensively used for evaluating the system performance. Mathematical formulations for all techniques are derived in detail to determine the appropriate system parameters so that optimal performance can be achieved. Moreover, the formulas for estimating the appropriate number of tokens under any system load conditions are shown in this research final report. Numerical results of all introduced techniques are presented in comparison to that of single-token channel reservation techniques, namely the CFP, UNI and UNI+LA algorithms. The results show that all developed techniques are superior to the existing techniques, especially for systems with light to medium loads.
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 8032691 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ระบบสื่อสารไร้สาย en
dc.subject โปรโตคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลาง en
dc.subject การเข้ารหัสช่องสัญญาณ en
dc.title เทคนิคการจองช่องสัญญาณที่ใช้โทเค็นหลายอัน สำหรับโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลาง ในระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Multi-token channel reservation techniques for media access control protocal in high speed wireless communication systems en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Lunchakorn.W@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record