DSpace Repository

แนวทางการนำมาตรการป้องกันการเลือกใช้อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนโดยมิชอบ (Anti-treaty shopping measure) มาใช้ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
dc.contributor.advisor พล ธีรคุปต์
dc.contributor.author โกสินทร์ เธียรสวัสดิ์กิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-10-04T03:54:52Z
dc.date.available 2010-10-04T03:54:52Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13589
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en
dc.description.abstract ศึกษาแนวทางการใช้มาตรการป้องกันการเลือกใช้อนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนโดยมิชอบในประเทศไทย โดยผู้เขียนไดศึกษาถึงรูปแบบมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันการเลือกใช้อนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนโดยมิชอบที่มีอยู่ในต่างประเทศ และในประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบว่ากฎหมายของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันเพียงพอต่อการป้องกันการวางแผนภาษี ในรูปแบบดังกล่าวโดยมิชอบได้หรือไม่ และประเทศไทยสมควรที่จะต้องมีการพัฒนากฎหมายดังกล่าวไปในทิศทางใด จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันการเลือกใช้อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนโดยมิชอบในประเทศไทยนั้น ยังมีอยู่อย่างจำกัดทำให้ไม่สามารถที่จะป้องกันการกระทำดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีแนวคิดว่าการทำการเลือกใช้อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเห็นได้จากการที่กรมสรรพกรได้มีการออกหนังสือตอบข้อหารือ ในลักษณะที่ยอมรับการวางแผนภาษีโดยวิธีการดังกล่าว เพื่อกระตุ้นให้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น จากปัญหาดังกล่าวผู้เขียนได้นำเสนอแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนามาตรการป้องกันการเลือกใช้อนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนโดยมิชอบในอนาคต หากว่าแนวความคิดของรัฐบาลไทยเปลี่ยนในทิศทางที่จะป้องกันการเลี่ยงภาษีโดยวิธีดังกล่าว โดยมาตรการที่ผู้เขียนเห็นว่าเหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่ มาตรการป้องกันโดยอาศัยบทบัญญัติในอนุสัญญาที่เรียกว่ามาตรการจำกัดสิทธิประโยชน์ ควบคู่กับการปรับหลักกฎหมายในเรื่องเจตนาลวง นิติกรรมอำพราง และตัวการตัวแทนในประมวลแพ่งและพาณิชย์มาประกอบ รวมถึงกำหนดนโยบายการจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ของกรมสรรพกรไม่ให้มีการทำอนุสัญญากับประเทศที่มีลักษณะเป็น Harmful tax competition อีกด้วย en
dc.description.abstractalternative To study anti-treaty shopping measures in Thailand. The author compared anti-treaty shopping measures in foreign countries and in Thailand to assess whether, at present, the laws in Thailand were sufficient to prevent such tax planning, and in which directions should Thai law develop to. The author found that, in Thailand, there were few legal provisions regarding anti-treaty shopping measures, which resulted in ineffective prevention of treaty shopping. This was because, treaty shopping was not considered as a problem that should be resolved in Thailand, as the Revenue Department in various occasion issued its rulings to accept and favor such tax planning, in order to attract foreign investor to Thailand. The author, however, proposed means to develop anti-treaty shopping measure, in case if Thai Government would like to change its view to prevent such tax planning. The author was of the opinion that, the most appropriate measure in Thailand was to apply provisions on Limited on Benefit in double taxation treaties with principles of fictitious intention, concealed act and principal-agent from the Civil and Commercial Code. Furthermore, the Revenue Department should provide a policy to forbid double taxation treaty with any territories which are harmful to tax competition. en
dc.format.extent 2875370 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1427
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อนุสัญญาภาษีซ้อน en
dc.subject ภาษีซ้อน en
dc.subject ภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en
dc.title แนวทางการนำมาตรการป้องกันการเลือกใช้อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนโดยมิชอบ (Anti-treaty shopping measure) มาใช้ในประเทศไทย en
dc.title.alternative An introduction of anti-treaty shopping measure to Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Tithiphan.C@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.1427


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record