Abstract:
บทความนี้เป็นการพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมัยใหม่-ชุมชน-โจร-การจัดการทรัพยากรธรรมชาติว่า รัฐสมัยใหม่-ชุมชน-โจร-การจัดการทรัพยากรธรรมชาติมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ข้อคิดสำคัญที่ได้จากการพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 4 ประเด็นคือ ในมุมมองของชุมชนท้องถิ่นอาจกล่าวได้ว่า รัฐสมัยใหม่อาจเปรียบได้กับ “โจร” ที่ปล้นสิทธิอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากชุมชนท้องถิ่น เนื่องจากรัฐสมัยใหม่จัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่รัฐ และมีการเบียดขับไม่ให้ชุมชนท้องถิ่นและผู้คนที่รัฐนิยามว่าเป็นคนอื่น ไม่ใช่ไทย และ “คนจน” สามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งต่างจากลักษณะการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามจารีตประเพณีของชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของรัฐสมัยใหม่ได้นำไปสู่การที่คนซึ่งถูกเบียดขับไม่ให้เข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติกระทำการโจรกรรม หรืออาชญากรรม เพื่อสิทธิอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามจารีตประเพณีของชุมชนท้องถิ่น