Abstract:
วัตถุประสงค์ในการศึกษาวาทกรรมว่าด้วยกองทัพญี่ปุ่น สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เน้นการศึกษาความทรงจำที่ถูกสร้างขึ้นเป็นตัวแทนทางประวัติศาสตร์ผ่านทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอดีตที่ปรากฏขึ้นจริงในรูปของสุสานสงครามกาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำช่องเขาขาด อันเป็นความทรงจำร่วมทางสังคมที่เกิดขึ้นเป็นวาทกรรมว่าด้วยกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาที่สำคัญ 2 ชุดคือ วาทกรรมจากมุมมองของฝ่ายสัมพันธมิตรในฐานะผู้ถูกกระทำ และวาทกรรมจากมุมมองของฝ่ายญี่ปุ่นในฐานะผู้กระทำ การศึกษาในประเด็นดังกล่าวจะช่วยขยายภาพเรื่องราวของกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามมหาเอเชียให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้เข้าใจถึงเหตุผลว่าทำไมทางรถไฟสายมรณะ จึงได้รับความสนใจในการนำเสนอเป็นงานเขียนทั้งในรูปของบันทึกความทรงจำ และงานเขียนทางวิชาการอย่างแพร่หลาย