DSpace Repository

การห้ามทำลายล้างเผ่าพันธุ์ในฐานะเป็นกฎหมายที่มีลักษณะบังคับเด็ดขาดในกฎหมายระหว่างประเทศ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชุมพร ปัจจุสานนท์
dc.contributor.author ทวี เรืองฤทธิ์เดช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-12-25T11:21:42Z
dc.date.available 2010-12-25T11:21:42Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14236
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract กฎหมายที่มีลักษณะบังคับในกฎหมายระหว่างประเทศไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้การพิสูจน์ว่าบรรทัดฐานใดของกฎหมายระหว่างประเทศที่มีลักษณะบังคับเด็ดขาดทำได้ยาก ผู้เขียนได้ศึกษาการห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมายที่มีลักษณะบังคับเด็ดขาด โดยอาศัยบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ และการนำการห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ไปใช้ในศาลระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะบังคับเด็ดขาดของการห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ และมีผลผูกพันแบบเด็ดขาดกับรัฐทุกรัฐ อันได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากสังคมระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงลักษณะบังคับเด็ดขาดและมีผลผูกพันธุ์แบบเด็ดขาดกับรัฐทุกรัฐ ซึ่งเห็นได้จากการทำอนุสัญญาทำลายล้างเผ่าพันธุ์ และการกำจัดข้อจำกัดต่างๆ ในธรรมนูญกรุงโรม รวมไปถึงบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศอื่น เช่น แนวปฏิบัติของรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับทางปฏิบัติของรัฐ ที่ไม่อนุญาตให้รัฐหรือบุคคลใดสามารถปฏิเสธขัดแย้งได้ การละเมิดต่อบรรทัดฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ นำมาซึ่งความรับผิดชอบทั้งในส่วนของรัฐและปัจเจกเอกชน อันจะเห็นได้จากการจัดตั้งศาลอดีตยูโกลลาเวียและศาลรวันดา เพื่อนำตัวบุคคลผู้กระทำผิดมาลงโทษ และคำวินิจฉัยของศาลดังกล่าว ที่แสดงถึงลักษณะบังคับเด็ดขาดของการห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ข้อสนับสนุนอีกส่วนหนึ่งมาจากคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของรัฐที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งการบังคับใช้การห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์โดยสหประชาชาติ แสดงถึงค่าบังคับของบรรทัดฐานที่มีศักดิ์สูงสุดของสังคมระหว่างประเทศเป็นอย่างดี จากผลที่ได้ ผู้เขียนจึงเสนอให้รัฐต่างๆ ควรมีการ่วมมือกันกำจัดข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการบังคับใช้การห้ามการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ทั้งในกฎหมานภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาของกฎหมายที่มีลักษณะบังคับเด็ดขาด อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของสังคมระหว่างประเทศ ทั้งในแง่ของหลักนิติธรรมและอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ en
dc.description.abstractalternative Jus cogens in international law had no conclusive criterion. Therefore, the proof of or identify a jus cogens norms was a considerable burden. Due to the Prohibition of genocide was recognized as jus cogens norms, this research aimed to study how prohibition of genocide had that status by focus on the peremptory and the absolute binding character. The study on those characters concerned with the source of law, the responsibility of state and the responsibility of individuals. From the study, the evidences from the sources of law concerning genocide support that prohibition of genocide has the absolute binding character and the peremptory character, especially the making of genocide convention and the development of this norms on Rome statute. Indeed, other evidence as the practice of state confirm on those characters. Futhermore, the sanction of international community rendered by the constituting the ad hoc International criminal Tribunal for enforcing this norms on individual show the peremptory character. Additionally, the State responsibility in the International Court of Justice judgment support those character with the widely accept from the international community. All those evidences point that prohibition of genocide qualifies as jus cogens norms. Pursuance from the above conclusions, the author proposes that it would be helpful in eliminating the limitation on enforcing of the prohibition of genocide in the international level and national level which will extend to develop the jus cogens . It will help to unify and develop the international community in the light of rules of law and civilization of mankind. en
dc.format.extent 1717414 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.476
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กฎหมายบังคับเด็ดขาด (กฎหมายระหว่างประเทศ) en
dc.subject การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en
dc.subject กฎหมายระหว่างประเทศ en
dc.title การห้ามทำลายล้างเผ่าพันธุ์ในฐานะเป็นกฎหมายที่มีลักษณะบังคับเด็ดขาดในกฎหมายระหว่างประเทศ en
dc.title.alternative Prohibition of genocide as jus cogens in international law en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Chumphorn.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.476


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record