Abstract:
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาการตอบสนองของตลาดต่อการประกาศวิธีการบันทึกบัญชีในการลดทุนไปล้างขาดทุนสะสม และเพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ผลกระทบต่อกำไร(ขาดทุน)สะสม ผลกระทบต่อความสามารถในการจ่ายเงินปันผล ขนาดของกิจการ และชนิดของอุตสาหกรรม ที่อาจมีผลกระทบต่อการตอบสนองของตลาดต่อการประกาศดังกล่าว โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2543 – 2548 ที่มีการลดทุน และโอนส่วนเกินกว่ามูลค่าหุ้นที่ได้จากการลดทุนไปล้างขาดทุนสะสม ในขณะที่ยังมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น และบริษัทที่ทำการโอนส่วนเกินกว่ามูลค่าหุ้นไปล้างขาดทุนสะสม ก่อนที่จะมีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น โดยวัดการตอบสนองของตลาดจากอัตราผลตอบแทนผิดปกติสะสมจากการลงทุนในหลักทรัพย์ (Cumulative Abnormal Returns หรือ CARs) ที่เกิดขึ้นในช่วง 15 วัน ล้อมรอบวันประกาศ( -7,+7) ผลการทดสอบพบว่า ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ตลาดมีการตอบสนองต่อการประกาศวิธีการบันทึกบัญชีในการลดทุนไปล้างขาดทุนสะสม โดยเกิดอัตราผลตอบแทนผิดปกติสะสมเฉลี่ยเป็นลบอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาทดสอบ( -7,+7) เท่ากับ -9.18% และมีเพียงขนาดของกิจการเท่านั้นที่มีผลต่อการตอบสนองของตลาดต่อการประกาศวิธีการบันทึกบัญชีในการลดทุนไปล้างขาดทุนสะสม.