DSpace Repository

การศึกษาการผลิตก๊าซจากลิกไนต์โดยใช้เทคโนโลยีแบบเบดนิ่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภิญโญ มีชำนะ
dc.contributor.author เฉลิมพล ใจหนัก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-08-07T02:34:23Z
dc.date.available 2006-08-07T02:34:23Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741771819
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1511
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract การศึกษานี้เป็นการนำถ่านหินจากเหมืองเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และเหมืองสบปราบ จังหวัดลำปางขนาดอนุภาค 9-13 เซนติเมตรมาตรวจสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมี เพื่อนำไปทดลองผลิตก๊าซเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (Fixed-Bed Gasifier) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร สูง 750 เซนติเมตร โดยมีตัวแปรที่ศึกษาคือ อุณหภูมิที่ใช้ในการทดลอง 750, 850 และ 950 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนอากาศ 3.0, 4.0, 5.0 และ 6.0 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และสัดส่วนของ Oxygen Rich Air 40%, 60% และ 100% ซึ่งการทดลองเหล่านี้ทำที่ความดัน 1 บรรยากาศ จากการศึกษาพบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากถ่านหินเชียงม่วนคือ ใช้ Oxygen Rich Air/Steam เป็นสารตัวกลางที่สัดส่วนของ Oxygen Rich Air 100% อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส ก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้มีองค์ประกอบของก๊าซที่เผาไหม้ได้คือ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ 24.70% ก๊าซไฮโดรเจน 42.82% และก๊าซมีเทน 2.70% ค่าความร้อนของก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้เท่ากับ 9.130 เมกกะจูลต่อลูกบาศก์เมตร ประสิทธิภาพของการผลิตก๊าซเชื้อเพลิง 65% ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากถ่านหินสบปราบคือใช้ Oxygen Rich Air/Steam เป็นสารตัวกลางในเตาปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งที่สัดส่วนของ Oxygen Rich Air 100% อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส ก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้มีองค์ประกอบของก๊าซที่เผาไหม้ได้คือ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ 25.57% ก๊าซไฮโดรเจน 43.97% และก๊าซมีเทน 2.94% ค่าความร้อนของก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้เท่ากับ 9.340 เมกกะจูลต่อลูกบาศก์เมตร ประสิทธิภาพของการผลิตก๊าซเชื้อเพลิง 67% en
dc.description.abstractalternative In this study a column of fixed-bed gasifier diameter 10 cm. and 750 cm. height has been investigated. The test run onthe gasification of 2 coal types, Chiang Muan coal and Lampang coal, with particle size range of 9-13 cm. The interesting experiment parameters were reaction temperatures (varying at 750, 850 and 950 ํC) air flow rates (varying at 3.0, 4.0, 5.0 and 6.0 qb.m./hr) and proportion of Oxygen Rich Air (varying 40%, 60% and 100%) respectively. These experiments were done at atmospheric pressure. The result showed that the optimum operating condition in the fixed-bed gasifier for Chiang Muan coal is the use of 100% oxygen rich air and steam as reagent gas. The combustible component in producer gas was composed of carbon monoxide 24.70%, hydrogen 42.82% and methane 2.70% with heating value of 9.013 MJ/qb.m. and gasification efficiency of 65%. For Sobprab coal, the optimum operating condition inthe fixed-bed gasifier the use of 100% oxygen rich air and steam as reagent gas. The combustible componentin produced gas was composed of carbon monoxide 25.57%, hydrogen 43.97% and methane 2.94% with heating value of coal gas of 9.340 MJ/qb.m. and gasification efficiency of 67%. en
dc.format.extent 2146052 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การผลิตก๊าซจากถ่านหิน en
dc.subject ก็าซเชื้อเพลิง en
dc.subject ลิกไนต์ en
dc.title การศึกษาการผลิตก๊าซจากลิกไนต์โดยใช้เทคโนโลยีแบบเบดนิ่ง en
dc.title.alternative Study of lignite gasification using fixed-bed technology en
dc.type Thesis en
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline วิศวกรรมเหมืองแร่ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record