Abstract:
วัตถุประสงค์ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอายุความล้าของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อนที่ซ่อมแซมด้วยวิธีที่แตกต่างกันวิธีการทดลอง อะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อนถูกเตรียมเป็นชิ้นทดสอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า(80x10x2.5 มม.) แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่ไม่มีการซ่อมแซม จะให้แรงคงที่ที่ระดับ 51.46, 48.75, 46.04, 43.34, 40.63 และ 37.92 นิวตัน, (2,3) กลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน (แบ่งเป็นกลุ่มที่เตรียมผิวหน้าก่อนซ่อมแซมด้วยส่วนเหลวของอะคริลิกเรซิน และสารผลิตภัณฑ์ Rebase II) จะให้แรงคงที่ที่ระดับ 43.34, 40.63, 37.92, 35.21, 32.50, 29.79 และ 27.09 นิวตัน, (4,5) กลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มได้เอง(แบ่งเป็นกลุ่มที่เตรียมผิวหน้าก่อนซ่อมแซมด้วยส่วนเหลวของอะคริลิกเรซิน และสารผลิตภัณฑ์ Rebase II) จะให้แรงคงที่ที่ระดับ 37.92, 32.50, 27.09, 21.67 และ 16.25 นิวตัน ในแต่ละระดับแรงจะใช้ชิ้นทดสอบ 5 ชิ้น จนกระทั่งชิ้นทดสอบเกิดการแตกหัก หรือครบที่ 106 รอบ (ขีดจำกัดความล้า) แล้วบันทึกจำนวนรอบที่ทำให้เกิดการแตกหัก ผลการทดลอง ระดับแรงที่ทำให้อายุความล้าของทุกกลุ่มมีค่าตั้งแต่ 106 รอบของอะคริลิกเรซินที่ไม่มีการซ่อมแซมจะสูงที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน และกลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มได้เองมีค่าต่ำที่สุด, ส่วนอายุความล้าเฉลี่ยของอะคริลิกเรซินที่ซ่อมแซมด้วยการเตรียมผิวหน้าระหว่างสารเคมีทั้ง 2 ชนิด คือ ส่วนเหลวของอะคริลิกเรซิน 180 วินาที และสารผลิตภัณฑ์ Rebase II 20 วินาที ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญภายในกลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดเดียวกันสรุป อะคริลิกเรซินที่ไม่มีการซ่อมแซมจะมีอายุความล้าที่ทนต่อระดับแรงที่สูงกว่าได้มากกว่าอะคริลิกเรซินที่มีการซ่อมแซม จึงควรที่จะทำการเปลี่ยนฐานฟันปลอมมากกว่าที่จะทำการซ่อมแซม ในกรณีที่จำเป็นต้องทำการซ่อมแซมควรใช้อะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนมากกว่าชนิดบ่มได้เอง และควรใช้สารเคมีในการเตรียมผิวหน้าก่อนการซ่อมแซมร่วมด้วย.