DSpace Repository

การบริหารทรัพยากรกายภาพของพิพิธภัณฑ์ : กรณีศึกษาอาคารพิพิธภัณฑ์ของรัฐ 10 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสริชย์ โชติพานิช
dc.contributor.author พิมพ์ยิหวา จำรูญวงษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2011-06-28T10:09:25Z
dc.date.available 2011-06-28T10:09:25Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15379
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ที่ประกอบด้วยทรัพยากรกายภาพจำนวนมาก อาคารพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่มีระบบประกอบอาคารที่ซับซ้อน การบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่จึงเป็นงานสำคัญ เพราะเกี่ยวพันกับประสิทธิภาพอาคาร และความปลอดภัย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ และปัญหาของพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยใช้การศึกษาแบบกรณีศึกษา (Case study Approach) ของพิพิธภัณฑ์รัฐจำนวน 10 แห่ง จากการศึกษา พบว่า ลักษณะทางกายภาพของพิพิธภัณฑ์แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาเป็นพิพิธภัณฑ์เป็นการเฉพาะ และพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่ปรับใช้อาคารที่มีอยู่เดิมมาเป็นพิพิธภัณฑ์ สภาพทั่วไปของพิพิธภัณฑ์พบว่ามีพิพิธภัณฑ์ 9 แห่ง จาก 10 แห่ง ที่มีสภาพอาคารชำรุดทรุดโทรม เช่นผิวผนังมีสีหลุดลอก มีรอยด่างดำของทางน้ำฝน และมักมีอุปกรณ์ประกอบการจัดแสดงนิทรรศการชำรุดเสียหาย หน่วยงานด้านอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีหน่วยงานด้านอาคารสถานที่โดยเฉพาะ และกลุ่มที่ไม่มีหน่วยงานด้านอาคารสถานที่โดยเฉพาะ บุคลากรด้านอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์มักมีเพียงบุคลากรในระดับล่าง ได้แก่ ช่าง แม่บ้าน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีพิพิธภัณฑ์เพียง 3 แห่งเท่านั้นที่มีหัวหน้า หรือผู้จัดการด้านอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์ ขอบเขตของการดูแลรักษาอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์ พบว่า ยังขาดการบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย และระบบดับเพลิง ขอบเขตของการบริการอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์ พบว่า ยังขาดการวางแผน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการรักษาความสะอาด จากการศึกษา พบว่า พิพิธภัณฑ์ 7 แห่ง จาก 10 แห่ง มีการกำหนดนโยบายการดำเนินการด้านอาคารสถานที่ไว้เป็นแนวคิด ใช้การบอกกล่าว ไม่ได้ออกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงเป็นผลให้การปฏิบัติงานขาดความชัดเจน การปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นงานเพื่อให้อาคารสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ หรือรองรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นประจำวัน โดยหน่วยงานภายในมักเป็นผู้ดำเนินการเอง ยังขาดการตรวจสอบ การประเมินผล และการบำรุงรักษาอาคาร เน้นการซ่อมแซมเมื่อเกิดการชำรุดเสียหายเท่านั้น การศึกษานี้มีข้อสรุปว่า พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่มีสภาพอาคารทรุดโทรม อาจเป็นเพราะขาดนโยบายในการดำเนินการด้านอาคารสถานที่ที่ชัดเจน และเน้นการปฏิบัติงานในเชิงซ่อมแซมมากกว่าการป้องกัน โดยมักให้หน่วยงานภายในเป็นผู้ดำเนินการเองก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว จึงใช้จ้างบริษัทภายนอกดำเนินการ ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้ คือ พิพิธภัณฑ์ควรกำหนดนโยบายในการดำเนินการด้านอาคารสถานที่ โดยควรมุ่งเน้นเรื่อง การวางแผนการดำเนินการด้านอาคารสถานที่ในเชิงป้องกัน และพิพิธภัณฑ์ควรจัดตั้งหน่วยงานด้านอาคารสถานที่เป็นการเฉพาะเพียงหน่วยงานเดียว โดยให้หน่วยงานภายในตรวจสอบ ประเมินผลการทำงาน และจ้างบริษัทภายนอกมาบำรุงรักษาซ่อมแซมงานเทคนิคที่มีความซับซ้อน en
dc.description.abstractalternative A museum is a place housing various physical resources. Since a museum building involves complex building technology, building management is important as it affects the efficiency of the building and its safety. The main purpose of this research was to study the management of museum buildings in Thailand and their existing problems. Ten government museums were the case studies. It was found that, physically, museums can be classified into 2 types: large museums and small museums. A large museum is a building constructed to serve a specific purpose - exhibiting artifacts; while a small museum is a building constructed for other functions but is later modified into a museum. The general physical condition of 9 out of 10 museums in the Bangkok area is deteriorating. For example, they suffer from flaking paint, rainwater stains tarnishing the buildings, and broken exhibition fixtures. Some museums set up a separate unit to take care of their buildings, whereas others do not have one. The building personnel include repairers, maids and security guards. Only three museums have a building head or manager in charge of the buildings. The scope of taking care of the building does not include the maintenance of the fire prevention system and the fire extinguishing system. As for the scope of the building services, sanitary planning, follow-up and assessment have not been implemented. Seven museums out of ten do not map out policies for building management in writing. As a result, their management procedures are not clear. Most procedures are carried out by museum staff to meet the demand of the users or daily activities. In addition, there are no investigations and assessments. The building maintenance focuses mainly on repair. It can be concluded that most museums are in deteriorating condition, resulting from policies concentrating on building management and repair rather than prevention or maintenance. Their staff carries out the repairs by themselves first and if they cannot, they will hire a company to do it. It is suggested that museums should map out policies for building management concentrating on preventive measures and they should set up a separate unit to take care of the building. There should also be an internal unit to supervise and assess the work of this separate unit which has to be responsible for hiring a company to do the repair work which requires more complicated techniques or skills. en
dc.format.extent 2078582 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1160
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject พิพิธภัณฑ์ en
dc.subject การบริหารทรัพยากรกายภาพ en
dc.title การบริหารทรัพยากรกายภาพของพิพิธภัณฑ์ : กรณีศึกษาอาคารพิพิธภัณฑ์ของรัฐ 10 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล en
dc.title.alternative Facility management of museums : case studies of 10 government museums in Bangkok and surrounding suburbs en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sarich.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1160


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record