DSpace Repository

กรอบการประสานการทำงานร่วมกันของบีเพลสำหรับกริดเซอร์วิส

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์
dc.contributor.author พิเชษฐ์ อำนวยกาญจนสิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-08-07T09:43:40Z
dc.date.available 2006-08-07T09:43:40Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741770006
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1541
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract ระบบจัดการกระแสงานสำหรับระบบกริดในปัจจุบันนั้นล้วนแต่ถูกสร้างบนพื้นฐาน เทคโนโลยีและระบบที่ต่างกันไป ทำให้ระบบเหล่านี้ไม่สามารถทำงานร่วมกัน รวมไปถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการก็มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนั้นยังไม่มีข้อกำหนดการจัดการกระแสงานที่เป็นมาตรฐานในระบบกริดเกิดขึ้นเลย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดแนวคิดในการนำมาตรฐานการจัดการกระแสงานรูปแบบหนี่งของระบบกระจายที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน คือ บีเพล มาใช้ในการจัดการกระแสในระบบกริด โดยจะนำมาตรฐานบีเพลมาใช้ประสานการทำงานร่วมกันระหว่างกริดเซอร์วิสต่างๆ ที่สร้างขึ้นภายใต้ข้อกำหนดโอจีเอสไอ ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับสถาปัตยกรรมเชิงเซอร์วิสสำหรับระบบกริด แต่การนำบีเพลมาใช้กับกริดเซอร์วิสนั้นไม่สามารถทำได้โดยตรง เนื่องมาจากบีเพลไม่สามารถเรียกใช้งานกลไกและคุณสมบัติของกริดเซอร์วิสที่กำหนดขึ้นตามข้อกำหนดโอจีเอสไอ รวมไปถึงการใช้งานกริดเซอร์วิสที่มีการรักษาความปลอดภัยตามข้อกำหนดจีเอสไอ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอกรอบการประสานการทำงานร่วมกันของพีเพลสำหรับกริดเซอร์วิสซึ่งทำหน้าที่เป็นชั้นประสานการทำงานระหว่างกริดเซอร์วิสกับนีเพล โดยนำเสนอส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ เว็บเซอร์วิสผู้ช่วย เครื่องมือปรับปรุงดับบลิวเอสดีแอล และตัวแทนความปลอดภัย การใช้งานส่วนประกอบ ทั้ง 3 จะทำให้เราสามารถใช้บีเพลประสานการทำงานและเรียกใช้งานกลไกและคุณสมบัติของกริดเซอร์วิสทั้งที่มีและไม่มีการรักษาความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดบีเพลใดๆทั้งสิ้น วิทยานิพนธ์นี้ยังได้นำกรอบการประสานการทำงานที่สร้างขึ้น ไปใช้ในการสร้างกระบวนการบีเพลเพื่อเรียกใช้แกรมกริดเซอร์วิส ซึ่งเป็นกริดเซอร์วิสที่สร้างขึ้นโดยโกลบัสทูลคิทสำหรับการจัดการทรัพยากรกริด ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานทรัพยากรกริดต่างๆ ผ่านทางกระบวนการนีเพลได้โดยตรง เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้งานทรัพยากรกริดได้อีทางหนึ่ง en
dc.description.abstractalternative Nowadays, the workflow management systems of grid systems are developed and implemented based on proprietary technologies and systems. These systems are not interoperable and have limited management tools. Furthermore, there is no standard workflow specification of grid systems. To resolve these problems, this thesis proposes the use of BPEL specification to manage grid workflows. BPEL is currently a de-facto workflow standard in distributed systems. This thesis use BPEL to orchestrate OGSI-based Grid services. In facts, the use of BPEL orchestrating grid services has many problems. BPEL processes are not able to use OGSI-based grid services' mechanisms and features. They also can not orchestrate secure grid services. This thesis proposes BPEL-Orchestrated framework for grid services. Our framework act as convergence layer between grid services and BPEL processes. This framework proposes three important components; helper web services, WSDL modification tools and security proxy. By using these components, we can use BPEL process to orchestrate and use all features and mechanisms of both non-gecure and secure Grid services without modifying standard BPEL specification For testing the framework, this thesis developed BPEL processes to orchestrate secured sample grid services and Globus's GRAM grid services. Using GRAM Frid service via BPEL process encourages the use of grid systems for non-scientific domain as well as simplifies the development of grid applications. en
dc.format.extent 1609858 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กริด (ระบบคอมพิวเตอร์) en
dc.title กรอบการประสานการทำงานร่วมกันของบีเพลสำหรับกริดเซอร์วิส en
dc.title.alternative BPEL-Orchestrated framework for grid services en
dc.type Thesis en
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor natawut@cp.eng.chula.ac.th, Natawut.N@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record