DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ซอฟต์แวร์ตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ทำสัญญาอิเล็กทรอนิกส์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
dc.contributor.author ปรัชณี เรืองขนาบ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2011-07-18T08:46:58Z
dc.date.available 2011-07-18T08:46:58Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15503
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract ศึกษาปัญหาในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ทำสัญญาแทนบุคคล ซึ่งเรียกว่า "ตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์" โดยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปรับใช้กฎหมายลักษณะสัญญาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนากฎหมายของประเทศไทย ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่เหมาะสมเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต จากการศึกษาพบว่า การปรับใช้กฎหมายที่มีอยู่กับการทำสัญญาโดยตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ความไม่สอดคล้องในการนำหลักการแสดงเจตนาต่อบุคคลที่ไม่อยู่เฉพาะหน้า มาปรับใช้กับสัญญาที่เกิดจากการโต้ตอบข้อมูลโดยตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในทางปฏิบัติได้มีการยอมรับว่าสัญญาเกิดขึ้นแล้ว แม้ไม่มีการตอบรับด้วยบุคคลก็ตาม หรือความไม่เหมาะสมในการปรับใช้หลักสำคัญผิด กับความผิดพลาดที่เกิดจากสาเหตุทางเทคนิคในขณะที่มีการรับส่งข้อมูลโดยตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ และปัญหาความไม่เป็นธรรมในการทำสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงปัญหาการตีความและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในความหมายที่แท้จริง และสถานะทางกฎหมายระหว่างตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์กับตัวแทนตามกฎหมายลักษณะตัวแทนอีกด้วย จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ยังไม่เพียงพอที่จะนำมาปรับใช้กับการทำสัญญาโดยตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้กำหนดขึ้นเพื่อรับรองผลทางกฎหมายของสัญญา ที่เกิดขึ้นจากวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ยังไม่มีการกำหนดผลของสัญญาและหลักเกณฑ์เฉพาะที่สามารถนำมาปรับใช้กับสัญญาที่เกิดจากตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับหลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่สามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติได้ จึงอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและความแน่นอนในผลของสัญญาที่เกิดจากการใช้ตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจะต้องมีการกำหนดบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาโดยตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการทางเทคนิคเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ อันจะเป็นการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางธุรกิจ และทำให้การค้าภายในประเทศเกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น. en
dc.description.abstractalternative To study the legal problems in contract law adopting the new technology called “Electronic agent” concluding contract on behalf of person. This study also aims to develop the application of contract law and approach to the proper solutions for further legal problems in Thailand. This research found that the applicable law of contract is not accordance with contract formation by electronic agent in practice. The expression by distance applies when the party can not express acceptance at that moment, while electronic agents’ responses suddenly on behalf of the party was accepted in commercial practice. The rule of mistake can not apply with error data message caused by technical or electronic agent system as the mistake is applied when the party’s belief is not accordance with the fact , including unequal bargain in negotiating process between consumer and electronic agent of entrepreneurs. This causes unfair contract term which consumers do have not opportunity to correct or prevent error data or consider the agreement before manifest assent. Moreover, using “Electronic agent" in Thai law may lead to misuse and wrongly interpret the law of agency. All of the above show that even Electronic Transaction Act B.E. 2544 attributes the legal effect of an offer and acceptance in the form of data message ,or the provisions in Civil and Commercial Code are general rule in contract law, these are not sufficient to consider and can not apply truly in contract formation by electronic agent. Its impacts destroy the confidence and the capacities in the legal effect of the contract concluded by electronic agent as well. Thus, The use of Electronic agent in electronic contract and electronic agent controlled by technical measures should be proposed in Thailand to promote technology development and enhance the growth of domestic commercial. en
dc.format.extent 17549267 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.355
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สัญญาอิเล็กทรอนิกส์ en
dc.subject พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 en
dc.title ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ซอฟต์แวร์ตัวแทนอิเล็กทรอนิกส์ทำสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ en
dc.title.alternative The legal problems of electronic agent software in electronic contract en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sanunkorn.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.355


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record