DSpace Repository

แนวความคิดทางกฎหมายปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Show simple item record

dc.contributor.advisor เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
dc.contributor.author จาตุรงค์ รอดกำเนิด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2011-07-18T13:57:33Z
dc.date.available 2011-07-18T13:57:33Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15519
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงความเป็นมาและวิวัฒนาการของแนวความคิดทางกฎหมายปกครองของไทยในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากในด้านกฎหมายปกครอง เพื่อทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาแนวความคิดทางกฎหมายปกครองไทยในสมัยดังกล่าว ตลอดจนลักษณะของแนวความคิดทางกฎหมายปกครองที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นแก่ระบบกฎหมายปกครองไทยจากการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดดังกล่าวนั้น จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาแนวความคิดทางกฎหมายปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีทั้งส่วนที่เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยจากภายนอกประเทศ สำหรับปัจจัยภายในประเทศนั้น ปัญหาเรื่องการจัดระบบความสัมพันธ์ทางอำนาจ รวมทั้งความบกพร่องของระบบกฎหมายปกครองไทยดั้งเดิมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปฏิรูประบบกฎหมายปกครองใหม่ แต่ทั้งนี้ปัจจัยภายนอกประเทศ คืออิทธิพลจากชาติตะวันตกก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของตะวันตกซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งชนชั้นนำสยามได้เรียนรู้และนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ในการปกครองแบบดั้งเดิม ในส่วนเนื้อหาสาระของแนวความคิดทางกฎหมายปกครองในสมัยดังกล่าวนั้น ได้สะท้อนถึงอิทธิพลของแนวความคิดทางกฎหมายปกครองจากประเทศตะวันตกอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนบทบาทและอำนาจหน้าที่ของรัฐสมัยใหม่ ในขณะเดียวกัน กฎหมายปกครองในสมัยนี้ยังมีบางส่วนที่สะท้อนถึงรากฐานแนวความคิดทางกฎหมายปกครองดั้งเดิมของไทยด้วย โดยเฉพาะในเรื่องแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจรัฐ หลักการใช้อำนาจปกครอง รวมทั้งลักษณะความสัมพันธ์ทางปกครองระหว่างรัฐกับประชาชน แนวความคิดทางกฎหมายปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงแสดงถึงการผสมผสานระหว่างแนวความคิดทางกฎหมายปกครองอย่างตะวันตกกับรากฐานแนวความคิดทางกฎหมายปกครองดั้งเดิมของไทย ก่อให้เกิดเป็นระบบกฎหมายปกครองที่มีประสิทธิภาพและเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สยามกลายเป็น "รัฐ" สมัยใหม่อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี การปฏิรูปกฎหมายปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอีกด้านหนึ่งได้ก่อให้เกิดความเข้มข้นของอำนาจรัฐที่แผ่ไปยังทุกภาคส่วนของสังคม เนื่องจากการมุ่งเน้นการสร้างความปึกแผ่นให้กับอำนาจรัฐโดยปราศจากระบบควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจที่เพียงพอ ซึ่งได้ทำให้ระบบราชการเป็นสถาบันที่อยู่นอกเหนือการตรวจสอบอย่างใด ๆ รวมทั้งระบบกฎหมายที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองหลวงกับส่วนภูมิภาค อันเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยในเวลาต่อมา. en
dc.description.abstractalternative The aim of this thesis is to study the past historical background and development of the Thai administrative law concepts, especially, in the reign of King Chulalongkorn where there were immense changes in administrative justice system, for better understanding of the influential factors on the development thereof, the concepts of administrative law changed, and their consequences. The study demonstrates both domestic and foreign related factors having effect on the development of administrative concepts in the reign of King Chulalongkorn. It indicates that the domestic factors caused the problem in the organization of power relations and some defaults founded in the past administrative law system. As for the foreign related factors, there were influences from foreign countries in terms of the advanced organization of administrative system order for which Siamese elites had learned and applied in order to rectify the defaults existing in the former administration. While, the contents of the past administrative law concepts significantly reflected of the concepts derived from the western concepts of administrative law, especially, in relation to the organization of public administration structure and the role and power of the modern state, the present administrative law partially reflects of the principles originated in the Thai administrative law concepts in the past in terms of state's power, the exercise of administrative power principle, as well as, the relation between the state and its citizen. As manifested in the study, the concepts of administrative law in the reign of King Chulalongkorn have presented the harmonization of the concepts of administrative law derived from those of the west and ours in the past, which had led to the effective administrative law system and deemed one of the key factor bringing about Siam to become "a modern state." However, it was suggested that the administrative law reform had also led to the intensity of state power penetrating to every portion of society without sufficient control of the exercise of administrative power. In addition, the centralization had caused the inequality of power given between the capital and regions, which subsequently became one of the significant problems in the Thai society. en
dc.format.extent 2502191 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.137
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กฎหมายปกครอง -- ไทย en
dc.subject ปรัชญา en
dc.subject รัฐ en
dc.subject ไทย -- การเมืองและการปกครอง en
dc.title แนวความคิดทางกฎหมายปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว en
dc.title.alternative The concepts of administrative law in the reign of King Chulalongkorn (King Rama V) en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.137


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record