DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการเปิดเผยสถานภาพของหญิงรักเพศเดียวกันในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นต่อครอบครัว

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร
dc.contributor.author อรุณี ศุทธิชัยนิมิต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2011-07-28T08:46:36Z
dc.date.available 2011-07-28T08:46:36Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15549
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) - - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการเปิดเผยสถานภาพของหญิงรักเพศเดียวกันในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นต่อครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มหญิงรักเพศเดียวกันวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุ 22-40 ปีจำนวน 291 คน ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ รูปแบบวิธีการเผชิญปัญหา การคาดการณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์ของครอบครัวที่มีต่อการเป็นบุคคลรักร่วมเพศเดียวกันของตน บรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อน และอายุ ตัวแปรตามคือ การเปิดเผยสถานภาพรักเพศเดียวกันต่อครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการเปิดเผยสถานภาพรักเพศเดียวกันโดยแบ่งออกเป็น 6 มาตรวัดตามตัวแปรตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์โลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ด้วยวิธีการแบบขั้นตอน (Stepwise) เพื่อเป็นเกณฑ์การคัดเลือกตัวแปรเข้าวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายความแตกต่างของกลุ่มที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยสถานรักเพศเดียวกันของตนต่อครอบครัวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (p<.01) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (p<.05) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบด้านการเปิดรับประสบการณ์ (p<.01) และการคาดการณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์ของครอบครัวที่มีต่อการเป็นบุคคลรักร่วมเพศเดียวกันของตนในทางบวก (p<.001) ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าสามารถทำนายบุคคลที่มีคะแนนรวมของปัจจัยดังกล่าวในระดับสูงว่าจะเปิดเผยสถานภาพรักเพศเดียวกันต่อครอบครัวได้ถูกต้องร้อยละ 37.09 ในขณะที่สามารถทำนายบุคคลที่มีคะแนนรวมของปัจจัยดังกล่าวในระดับต่ำว่าจะไม่เปิดเผยสถานภาพรักเพศเดียวกันต่อครอบครัวได้ถูกต้องร้อยละ 89.11 en
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to examine factors related to the coming out to their families of young-adult lesbian women. Participants were 291 lesbian women aged 22 to 40. Independent variables examined were parenting styles, personality types, coping styles, expectations of the families’ reactions toward their disclosure, peers’ norms and participates’ attitude to coming-out age. Dependent variables was the self-disclosure status of the participants to their families: whether the participants disclose or hide their sexual orientation. Participants responded to a set of questionnaires which were separated into 2 parts: a general data questionnaire and the questionnaires measuring the above independent variables. Data were analyzed using the Stepwise Logistic Regression Analysis technique. Findings indicated that authoritative parenting style (p<.01), uninvolved parenting style (p<.05) openness to experience (p<01) and expectation regarding the consequence of their homosexuality disclosure (p<.001) were related to the participants’ coming out process to their families. Participants who had high scores of predicted factors trended to come out with their families, percentage of correction was 37.09%. While participants who had low scores trended to hide the homosexuality to their families, percentage of correction was 89.11% en
dc.format.extent 1730380 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1197
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject รักร่วมเพศ en
dc.subject เลสเบี้ยน en
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการเปิดเผยสถานภาพของหญิงรักเพศเดียวกันในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นต่อครอบครัว en
dc.title.alternative Selected factros related to young adult lesbian women's coming-out process to their families en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor psy@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1197


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record