DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมยกพวกตีกันระหว่างสถาบันของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
dc.contributor.author ประภาศรี ปัญญาวชิรชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2011-08-15T08:56:41Z
dc.date.available 2011-08-15T08:56:41Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15676
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมยกพวกตีกันระหว่างสถาบันของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาชาย จำนวน 300 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีพฤติกรรมยกพวกตีกันระหว่างสถาบัน จำนวน 150 คน และกลุ่มที่ไม่มีพฤติกรรมยกพวกตีกันระหว่างสถาบัน จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความก้าวร้าว แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองตามกลุ่ม แบบวัดเชาวน์อารมณ์ แบบวัดการเป็นอิสระจากบรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อน และแบบวัดอิทธิพลของสื่อต่อการยกพวกตีกัน การวิเคราะห์ข้อมูลทำขึ้นโดยใช้สถิติการจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแปรเข้าสมการจำแนกกลุ่มแบบ Stepwise โดยใช้การทดสอบค่าสถิติ Wilks’ Lambda เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแปรที่ช่วยจำแนกกลุ่มตัวอย่างที่มีและไม่มีพฤติกรรมยกพวกตีกันระหว่างสถาบันออกจากกัน ผลการวิจัย แสดงว่า มีปัจจัยที่ทดสอบสี่ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มตัวอย่างที่มีและไม่มีพฤติกรรมยกพวกตีกันระหว่างสถาบันออกจากกัน ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ความก้าวร้าว การเป็นอิสระจากบรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อน การเปิดรับอิทธิพลของสื่อต่อการยกพวกตีกัน และเชาวน์อารมณ์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยทั้งสี่ปัจจัยสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีความถูกต้องในการพยากรณ์อำนาจจำแนกรวมร้อยละ 80.0 en
dc.description.abstractalternative The purpose of this research study was to examine factors related to inter-institutional rumbles in male vocational students in Bangkok Metropolitan and perimeter areas. The participants were 300 male vocational students who were classified into 2 groups: 150 participants who have engaged in inter-institutional rumbles at least once in the last six months and 150 participants who have never had such experiences. Research instruments were Personal Data Questionnaire, Aggression Questionnaire, Self-esteem Scale, Collective Self-esteem Questionnaire, Emotional Intelligence Scale, Independence from Peer Norms Scale, and Media Influence Questionnaire. Data were analyzed by using the Discriminant Analysis with a stepwise method. The Wilks’ Lambda was examined to determine the factors that helped predict inter-institutional rumbles in these participants. Findings indicated that four factors helped predict inter-institutional rumbles in male vocational students. These factors were: aggression, independence from peer norms, reception of media influence, and emotional intelligence. These factors significantly discriminated participants with and without inter-institutional rumbles and yielded the total predictive discriminant efficiency of 80.00 percent. en
dc.format.extent 7428192 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1415
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject นักเรียนอาชีวศึกษา en
dc.subject การทะเลาะวิวาท en
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมยกพวกตีกันระหว่างสถาบันของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย en
dc.title.alternative Selected factors related to inter-institutional rumbles in male vocational students en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Kullaya.D@chula.ac.th, Kullaya@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1415


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record